งานวิจัยของห้องปฏิบัติการ Remediation
- การพัฒนาตัวดูดซับต่างๆจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และโลหะหนักปนเปื้อน / เก็บกลับโลหะที่มีค่า
- การบำบัดน้ำเสีย/ดินที่มีสารอินทรีย์และโลหะหนักปนเปื้อนโดยใช้พืช
- การกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ
ห้องปฏิบัติการ Remediation ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เถ้าลอยชานอ้อย เปลือกแมคคาดาเมีย ขุยมะพร้าว เป็นต้น เพื่อนำมาบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์ โดยศึกษาถึงกลไกของวัสดุดูดซับต่างๆในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับ และทราบวิธีการจัดการตัวดูดซับที่ใช้แล้วต่อไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม วิธีนี้มีราคาไม่แพง สะดวกในการนำไปใช้จริง เพื่อได้น้ำทิ้งที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานน้ำทิ้ง
ในปัจจุบันกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการ Remediation สามารถนำไปใช้ได้จริง ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ต เฟลกโซกราฟี และสกรีน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ต เฟลกโซกราฟี และสกรีน
ตัวอย่างโรงงานที่มีการปรับปรุงวิธีบำบัดน้ำเสีย
ตัวอย่างโรงงานที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย
ห้องปฏิบัติการ Remediation ยังศึกษาการบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช โดยคัดเลือกหาพืชที่มีศักยภาพและความสามารถในการดูดซับสูงสุด และศึกษากลไกการดูดซับของพืช เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการ Remediation ยังสนใจศึกษาการกำจัดสีที่ปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประ เทศไทย เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เองในประเทศ
วัตถุประสงค์
-
เพื่อพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดน้ำเสีย /สีที่ปนเปื้อนและเก็บกลับโลหะที่มีราคา
-
เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช
-
เพื่อศึกษาการกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ
-
เพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ และถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม
งานวิจัยที่ดำเนินการอยู่
การพัฒนาตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์/สี
การบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช (Wetland/Phytoremediation)
-
การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสิ่งทอโดยใช้ต้นธูปฤาษี
-
การบำบัดดินที่ปนเปื้อนโลหะแคดเมียมโดยใช้หญ้าแห้วหมู
-
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนเอทิลีนไกลคอลแบบบึงประดิษฐ์โดยใช้กกอเมซอนและกกราชินี
การกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ
-
การบำบัดสีน้ำเชื่อมโดยใช้เถ้าลอยชานอ้อย/ถ่านกัมมันต์เถ้าลอยชานอ้อย
-
การดูดซับสีเมลานอยดินโดยใช้ไคตินขนาดนาโน
-
การบำบัดสีน้ำมันรำข้าวโดยใช้ดินขาว
บุคลากร
-
รศ.ดร. ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ
-
ดร. ปารินดา สุขสบาย
-
นาง ประไพ ธุระกิจ
-
นางสาว สิริกาญจน์ นุ่นปุย
-
นางสาวอรุณี สิมะรัตนมงคล
-
นางสาวปิยะวรรณ หลีชาติ (ศึกษาต่อ)
-
นางสาวรุจิรา ดลเพ็ญ (ศึกษาต่อ)
งานบริการ
รับให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมการพิมพ์ น้ำเสียที่มีสี และ/หรือ โลหะหนักปนเปื้อน ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการพิมพ์ เช่น โรงพิมพ์ออฟเซ็ต โรงพิมพ์ระบบเฟลกโซกราฟี และโรงพิมพ์สกรีนที่ใช้หมึกฐานน้ำ เป็นต้น ส่วนน้ำเสียที่มีสี/หรือโลหะหนักปนเปื้อน ได้แก่ โรงงานผลิตสีโปสเตอร์ สีน้ำ หมึกปั๊มตรายาง โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานสิ่งทอ โรงงานชุบโลหะ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังให้บริการทางวิชาการและจัดฝึกอบรมสัมมนา เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทั่วไป
ผลงานเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ
-
Ewecharoen, A., Thiravetyan, P., Wendel, E. and Bertagnolli, H. Nickel adsorption by sodium polyacrylate-grafted activated carbon, J. of Hazardous Materials (in press) (impact factor 2007 = 2.337).
-
Simaratanamongkol, A., Thiravetyan, P. (2010) Decolorization of melanoidin by activated carbon obtained from bagasse bottom ash, J of Food Engineering, 96, 14-17. (impact factor 2007 = 1.848).
-
Aworn, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2009) Preparation of CO2 activated carbon from corncob for monoethylene glycol adsorption, Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects,333, 19-25 (impact factor 2007 = 1.601)
-
Suksabye, P., Nakajima, A., Thiravetyan, P. , Baba, Y. and Nakbanpote, W. (2009) Mechanism of Cr(V) adsorption by coir pith studied by ESR and adsorption kinetic, J. of Hazardous Materials,161, 1103-1108. (impact factor 2007 = 2.337)
-
Leechart, P., Nakbanpote, W. and Thiravetyan, P. (2009) Application of ‘waste’ wood shaving bottom ash for adsorption of azo reactive dye, J. of Environmental Management, Vol. 90, 912-920. (impact factor 2007 = 1.446)
-
Suksabye, P., Thiravetyan, P. , Nakbanpote, W. (2008) Column study of chromium (VI) adsorption from electroplating industry by coconut coir pith, J. of Hazardous Materials, Vol. 160, 56-62 (impact factor 2007 = 2.337)
-
Aworn, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2008) Preparation and characteristics of agricultural waste activated carbon by physical activation having micro- and mesopores, J. of Analytical and Applied Pyrolysis,82,279-285. (impact factor 2007 = 2.12)
-
Ewecharoen, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2008) Comparison of nickel adsorption from electroplating rinse water by coir pith and modified coir pith, Chemical Engineering Journal, 137, 181-188. (impact factor 2007 =1.707)
-
Nilratnisakorn, S., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2007) Synthetic reactive dye wastewater treatment by Narrow-leaved cattails (Typha angustifolia Linn.): effects of dye, salinity and metals, Science of the Total Environment, 384, 67-76. (impact factor 2007 = 2.182)
-
Nakbanpote, W., Goodman, B. A. and Thiravetyan, P. (2007) Copper adsorption on rice husk derived materials studied by EPR and FTIR, Colloid and Surface A: Physicochemical and Engineering Aspects, Vol. 304, 7-13. (impact factor 2007 =1.601)
-
Dolphen, R., Sakkayawong, N., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2007) Adsorption of synthetic reactive dye wastewater onto modified chitin , J. of Hazardous Materials, Vol. 145, 250-255. (impact factor 2007 =2.337)
-
Suksabye, P., Thiravetyan, P. , Nakbanpote, W. and Chayabutra, S. (2007) Chromium removal from electroplating wastewater by coir pith, J. of Hazardous Materials, Vol. 141, 637-644. (impact factor 2007 = 2.337)
-
Aworn, A., Thiravetyan. P. and Nakbanpote, W. (2005) Recovery of gold from gold slag by wood shaving fly ash, J. of Colloid and Interface Science, Vol. 287, 394-400. (impact factor 2007 =2.309)
-
Sakkayawong, N., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2005) Adsorption mechanism of synthetic reactive dye wastewater by chitosan, J. of Colloid and Interface Science, Vol. 286, 36-42. (impact factor 2007 = 2.309)
-
Netpradit, S., Thiravetyan, P., Nakbanpote, W. , Rattanakajhonsakul, K., Tantarawong and S., Jantarangsri, P. (2004) Waste metal hydroxide sludge as a new adsorbent, Environmental Engineering Science, Vol. 21, No. 5, 575-582. (impact factor 2007 = 0.944)
-
Songkroah, C., Nakbanpote, W. and Thiravetyan, P. (2004) Recovery of silver-thiosulphate complexes by chitin, Process Biochemistry, Vol. 39, 1553-1559. (impact factor 2007 = 2.336)
-
Inthorn, D., Singhtho. S., Thiravetyan, P. and Khan, E. (2004) Decolorization of basic, direct and reactive dyes by pre-treated narrow-leaved cattail (Typha angustifolia Linn.), Bioresource Technology, Vol. 94, 299-306. (impact factor 2007 =3.103)
-
Netpradit, S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2004) Adsorption of 3 azo reactive dyes by metal hydroxide sludge: Effect of temperature, pH and electrolytes Journal of Colloid and Interface Science, Vol. 270, No. 2, 255-261. (impact factor 2007 =2.309)
-
Netpradit S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2004) Evaluation of metal hydroxide sludge for reactive dye adsorption in a fixed-bed column system, Water Research, Vol. 38, No. 1, 71-78. (impact factor 2007 =3.103)
-
Netpradit, S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2003) Application of ‘Waste’ metal hydroxide sludge for adsorption of azo reactive dyes, Water Research, Vol. 37, No. 4, 763-772. (impact factor 2007 = 3.103)
-
Nakbanpote, W., Thiravetyan, P., and Kalambaheti, C. (2002) Comparision of gold adsorption by Chlorella vulgaris, rice husk and activated carbon, Minerals Engineering, 15, 549-552. (impact factor 2007 = 0.939)
-
Nakbanpote, W., Thiravetyan, P. and Kalambaheti, C. (2000) Preconcentration of gold by rice husk ash, Minerals Engineering, Vol. 13, No. 4, 391-400. (impact factor 2007 = 0.939)
-
Wilawan, S., Thiravetyan, P. and Tanticharoen, M. (2000) A possible mechanism of Zn2+ uptake by living cells of Penicillium sp., Biotechnology Letters, Vol. 22, No. 21, 1709-1712. (impact factor 2007 = 1.222)
อนุสิทธิบัตร
-
Thiravetyan, P., Nakbanpote, W., Netpradit, S. and Thiraket, P. (2005) Wastewater containing color and/or heavy metals system and process to treatment of wastewater containing color and/or heavy metals ( Petty Patent No. 1887).
-
Thiravetyan, P., Dolphen, R., Sakkayawong, N. and Nakbanpote, W. (2007) Process of modified chitin by sodium hyperchlorite (Petty Patent No. 4003).
-
Thiravetyan, P., Leechart, P., Suksabye, P. and Nakbanpote, W. (2009) Process of preparation of coir pith as an adsorbent in cylinder container for treatment of heavy metal from industrial factory (Petty Patent No. 4900).
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02-470-7536-7
|