Thursday, 25 April 2024 |
หน้าหลัก arrow งานวิจัยและพัฒนา arrow Remediation Laboratory
Remediation Laboratory PDF พิมพ์ อีเมล์

งานวิจัยของห้องปฏิบัติการ Remediation

  • การพัฒนาตัวดูดซับต่างๆจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และโลหะหนักปนเปื้อน / เก็บกลับโลหะที่มีค่า
  • การบำบัดน้ำเสีย/ดินที่มีสารอินทรีย์และโลหะหนักปนเปื้อนโดยใช้พืช
  • การกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ

ห้องปฏิบัติการ Remediation ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เถ้าลอยชานอ้อย เปลือกแมคคาดาเมีย ขุยมะพร้าว เป็นต้น เพื่อนำมาบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์ โดยศึกษาถึงกลไกของวัสดุดูดซับต่างๆในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับ และทราบวิธีการจัดการตัวดูดซับที่ใช้แล้วต่อไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม วิธีนี้มีราคาไม่แพง สะดวกในการนำไปใช้จริง เพื่อได้น้ำทิ้งที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานน้ำทิ้ง 

redm1.jpg 

ในปัจจุบันกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่พัฒนาโดยห้องปฏิบัติการ Remediation สามารถนำไปใช้ได้จริง ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ต เฟลกโซกราฟี และสกรีน ดังรูปที่ 1

redm6.jpg
  
รูปที่ 1 ระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพิมพ์ระบบออฟเซ็ต เฟลกโซกราฟี และสกรีน

ตัวอย่างโรงงานที่มีการปรับปรุงวิธีบำบัดน้ำเสีย

redm7.jpg
  
         ตัวอย่างโรงงานที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย

redm8.jpg
 

ห้องปฏิบัติการ Remediation ยังศึกษาการบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช โดยคัดเลือกหาพืชที่มีศักยภาพและความสามารถในการดูดซับสูงสุด และศึกษากลไกการดูดซับของพืช เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

redm9.jpg 

นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการ Remediation ยังสนใจศึกษาการกำจัดสีที่ปนเปื้อนในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประ เทศไทย เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เองในประเทศ

redm10.jpg
 วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบำบัดน้ำเสีย /สีที่ปนเปื้อนและเก็บกลับโลหะที่มีราคา
  • เพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช
  • เพื่อศึกษาการกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ
  • เพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ และถ่ายทอดสู่ภาคอุตสาหกรรม

งานวิจัยที่ดำเนินการอยู่


การพัฒนาตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์/สี

  • การบำบัดบิสฟีนอลเอจากน้ำดื่มโดยใช้เถ้าลอยชานอ้อย 
  • การนำนิกเกิลและโครเมียมจากน้ำเสียโรงชุบโลหะกลับมาใช้ใหม่โดยใช้ขุยมะพร้าวเป็นตัวดูดซับ


การบำบัดน้ำเสีย/ดินที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์โดยใช้พืช (Wetland/Phytoremediation)

  • การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสิ่งทอโดยใช้ต้นธูปฤาษี
  • การบำบัดดินที่ปนเปื้อนโลหะแคดเมียมโดยใช้หญ้าแห้วหมู
  • ระบบบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนเอทิลีนไกลคอลแบบบึงประดิษฐ์โดยใช้กกอเมซอนและกกราชินี


การกำจัดสีในอุตสาหกรรมอาหารโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในประเทศ

  • การบำบัดสีน้ำเชื่อมโดยใช้เถ้าลอยชานอ้อย/ถ่านกัมมันต์เถ้าลอยชานอ้อย
  • การดูดซับสีเมลานอยดินโดยใช้ไคตินขนาดนาโน
  • การบำบัดสีน้ำมันรำข้าวโดยใช้ดินขาว 


บุคลากร

  1. รศ.ดร. ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ
  2. ดร. ปารินดา สุขสบาย
  3. นาง ประไพ ธุระกิจ
  4. นางสาว สิริกาญจน์ นุ่นปุย
  5. นางสาวอรุณี สิมะรัตนมงคล 
  6. นางสาวปิยะวรรณ หลีชาติ (ศึกษาต่อ)
  7. นางสาวรุจิรา ดลเพ็ญ (ศึกษาต่อ)

งานบริการ

รับให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมการพิมพ์ น้ำเสียที่มีสี และ/หรือ โลหะหนักปนเปื้อน ตัวอย่างของอุตสาหกรรมการพิมพ์ เช่น โรงพิมพ์ออฟเซ็ต โรงพิมพ์ระบบเฟลกโซกราฟี และโรงพิมพ์สกรีนที่ใช้หมึกฐานน้ำ เป็นต้น ส่วนน้ำเสียที่มีสี/หรือโลหะหนักปนเปื้อน ได้แก่ โรงงานผลิตสีโปสเตอร์ สีน้ำ หมึกปั๊มตรายาง โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานสิ่งทอ โรงงานชุบโลหะ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังให้บริการทางวิชาการและจัดฝึกอบรมสัมมนา เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทั่วไป

ผลงานเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ

  1. Ewecharoen, A., Thiravetyan, P., Wendel, E. and Bertagnolli, H. Nickel adsorption by sodium polyacrylate-grafted activated carbon, J. of Hazardous Materials (in press) (impact factor 2007 = 2.337).
  2. Simaratanamongkol, A., Thiravetyan, P. (2010) Decolorization of melanoidin by activated carbon obtained from bagasse bottom ash, J of Food Engineering, 96, 14-17. (impact factor 2007 = 1.848). 
  3. Aworn, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2009) Preparation of CO2 activated carbon from corncob for monoethylene glycol adsorption, Colloids and Surfaces A: Physicochemical and Engineering Aspects,333, 19-25 (impact factor 2007 = 1.601)
  4. Suksabye, P., Nakajima, A., Thiravetyan, P. , Baba, Y. and  Nakbanpote, W.  (2009) Mechanism of Cr(V) adsorption by coir pith studied by ESR and adsorption kinetic, J. of Hazardous Materials,161, 1103-1108. (impact factor 2007 = 2.337)
  5. Leechart, P., Nakbanpote, W. and Thiravetyan, P. (2009)  Application of ‘waste’ wood shaving bottom ash for adsorption of azo reactive dye, J. of Environmental Management, Vol. 90, 912-920. (impact factor 2007 = 1.446)
  6. Suksabye, P., Thiravetyan, P. , Nakbanpote, W.  (2008) Column study of chromium (VI) adsorption from electroplating industry by coconut coir pith, J. of Hazardous Materials, Vol. 160, 56-62  (impact factor 2007 = 2.337)
  7. Aworn, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2008) Preparation and characteristics of agricultural waste activated carbon by physical activation having micro- and mesopores, J. of Analytical and Applied Pyrolysis,82,279-285. (impact factor 2007 = 2.12)
  8. Ewecharoen, A., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2008) Comparison of nickel adsorption from electroplating rinse water by coir pith and modified coir pith, Chemical Engineering Journal, 137, 181-188. (impact factor 2007 =1.707)
  9. Nilratnisakorn, S., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2007) Synthetic reactive dye wastewater treatment by Narrow-leaved cattails (Typha angustifolia Linn.): effects of dye, salinity and metals, Science of the Total Environment, 384, 67-76. (impact factor 2007 = 2.182)
  10. Nakbanpote, W., Goodman, B. A. and Thiravetyan, P. (2007) Copper adsorption on rice husk derived materials studied by EPR and FTIR, Colloid and Surface A: Physicochemical and Engineering Aspects, Vol. 304, 7-13. (impact factor 2007 =1.601)
  11. Dolphen, R., Sakkayawong, N., Thiravetyan, P. and  Nakbanpote, W. (2007)  Adsorption of synthetic reactive dye wastewater onto modified chitin , J. of Hazardous Materials, Vol. 145, 250-255. (impact factor 2007 =2.337)
  12. Suksabye, P., Thiravetyan, P. , Nakbanpote, W. and Chayabutra, S. (2007) Chromium removal from electroplating wastewater by coir pith, J. of Hazardous Materials, Vol. 141, 637-644. (impact factor 2007 = 2.337)
  13. Aworn, A., Thiravetyan. P. and Nakbanpote, W. (2005) Recovery of gold from gold slag by wood shaving fly ash, J. of Colloid and Interface Science, Vol. 287, 394-400. (impact factor 2007 =2.309)
  14. Sakkayawong, N., Thiravetyan, P. and Nakbanpote, W. (2005) Adsorption mechanism of synthetic reactive dye wastewater by chitosan, J. of Colloid and Interface Science, Vol. 286, 36-42. (impact factor 2007 = 2.309)
  15. Netpradit, S., Thiravetyan, P., Nakbanpote, W. , Rattanakajhonsakul, K., Tantarawong and S., Jantarangsri, P. (2004) Waste metal hydroxide sludge as a new adsorbent,  Environmental Engineering Science, Vol. 21, No. 5, 575-582. (impact factor 2007 = 0.944)
  16. Songkroah, C., Nakbanpote, W. and Thiravetyan, P. (2004) Recovery of silver-thiosulphate complexes by chitin, Process Biochemistry, Vol. 39, 1553-1559. (impact factor 2007 = 2.336)
  17. Inthorn, D., Singhtho. S., Thiravetyan, P. and Khan, E. (2004) Decolorization of basic, direct and reactive dyes by pre-treated narrow-leaved cattail (Typha angustifolia Linn.), Bioresource Technology, Vol. 94, 299-306. (impact factor 2007 =3.103)
  18. Netpradit, S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2004) Adsorption of 3 azo reactive dyes by metal hydroxide sludge: Effect of temperature, pH and electrolytes Journal of Colloid and Interface Science, Vol. 270, No. 2, 255-261. (impact factor 2007 =2.309)
  19. Netpradit S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2004) Evaluation of metal hydroxide sludge for reactive dye adsorption in a fixed-bed column system, Water Research, Vol. 38, No. 1, 71-78. (impact factor 2007 =3.103)
  20. Netpradit, S., Thiravetyan, P. and Towprayoon, S. (2003) Application of ‘Waste’ metal hydroxide sludge for adsorption of azo reactive dyes, Water Research, Vol. 37, No. 4, 763-772. (impact factor 2007 = 3.103)
  21. Nakbanpote, W., Thiravetyan, P., and Kalambaheti, C. (2002) Comparision of gold adsorption by Chlorella vulgaris, rice husk and activated carbon, Minerals Engineering, 15, 549-552. (impact factor 2007 = 0.939)
  22. Nakbanpote, W., Thiravetyan, P. and Kalambaheti, C. (2000) Preconcentration of gold by rice husk ash, Minerals Engineering, Vol. 13, No. 4, 391-400. (impact factor 2007 = 0.939)
  23. Wilawan, S., Thiravetyan, P. and Tanticharoen, M. (2000) A possible mechanism of Zn2+ uptake by living cells of Penicillium sp., Biotechnology Letters, Vol. 22, No. 21, 1709-1712. (impact factor 2007 = 1.222)

อนุสิทธิบัตร

  1. Thiravetyan, P., Nakbanpote, W., Netpradit, S. and Thiraket, P. (2005) Wastewater containing color and/or heavy metals system and process to treatment of wastewater containing color and/or heavy metals ( Petty Patent No. 1887).
  2. Thiravetyan, P., Dolphen, R., Sakkayawong, N. and Nakbanpote, W. (2007) Process of modified chitin by sodium hyperchlorite (Petty Patent No. 4003).
  3. Thiravetyan, P., Leechart, P., Suksabye, P. and Nakbanpote, W. (2009) Process of preparation of coir pith as an adsorbent in cylinder container for treatment of heavy metal from industrial factory (Petty Patent No. 4900).

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02-470-7536-7

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
สงวนลิขสิทธิ์ 2550-2562 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) : 49 ซอยเทียนทะเล 25 ถนน บางขุนเทียนชาย-ทะเล แขวง ท่าข้าม เขต บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร.66-2-4707453, โทรสาร.66-2-4523455

Copyrights 2007-2019 Pilot Plant Development and Training Institute
King Mongkut's University of Technology Thonburi (Bangkuntien) : 49 Soi Thian Thale 25, Bang Khun Thian Chai Thale Road, Tha Kham, Bang Khun Thian, Bangkok 10150
Tel. 66-2-4707453 Fax. 66-2-4523455