|
Saturday, 21 December 2024
|
|
|
|
หน้าหลัก งานวิจัยและพัฒนา Algal Biotechnology |
ประวัติ (Background)
สาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) เป็นแหล่งโปรตีนและมีสารเคมีมูลค่าสูง จำพวกกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดลิโนลิอิก และกรดแกมมาลิโนเลนิก (GLA) รวมทั้งมีสารให้สีที่เป็นรงควัตถุในการรับแสง พวก คลอโรฟิลล์ที่ให้สีเขียว ไฟโคไซยานินให้สีฟ้า และแคโรทีนอยด์ที่ให้สีส้มแดง ซึ่งสามารถสกัดสารสีเหล่านี้จากสาหร่าย สไปรูลิน่าได้ และมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย (Algal Biotechnology) เป็นหน่วยงานหนึ่งใน R&D Cluster มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีการดำเนินงานโดยทีมอาจารย์จากคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ร่วมกับนักวิจัยของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิจัยจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ โดยเริ่มการดำเนินงานประมาณปี พ.ศ. 2530 ด้วยโครงการ “การนำน้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังมาเป็นแหล่งอาหารเพื่อใช้เลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) และได้ดำเนินการวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสาหร่าย สไปรูลิน่า การพัฒนาสายพันธุ์ ตลอดจนทำการวิจัยในระดับชีวโมเลกุลเกี่ยวกับการแสดงออกของยีนและเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารเคมีมูลค่าสูงในสาหร่ายสไปรูลิน่า อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี
ในปี พ.ศ. 2545 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่ายจัดตั้งกลุ่ม Spirulina Consortium โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและกลุ่มวิจัยฯ เพื่อให้เกิดเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งจะนำไปสู่การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงกลุ่มวิจัยสามารถผลิตงานวิจัยให้ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของกลุ่มวิจัยด้านนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์
-
พัฒนาเทคนิคการเพาะเลี้ยง และพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์
-
ศึกษาการสังเคราะห์สารเคมีมูลค่าสูงในสาหร่ายสไปรูลิน่า
-
ใช้สาหร่ายสไปรูลิน่าเป็นโมเดลของพืช สำหรับการศึกษาการตอบสนองต่อสภาวะกดดัน (stress respond) ทั้งการสังเคราะห์แสงและกาหายใจ
-
ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานเอกชนภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย
งานวิจัยและพัฒนาของกลุ่มเน้น 3 แนวทางหลัก ดังนี้
1. การเพาะเลี้ยง (Mass Cultivation)
มุ่งเน้นให้ได้ผลผลิตและประโยชน์จากผลผลิตมากที่สุด มีงานวิจัยถึงผลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเจริญของสาหร่ายสไปรูลิน่า การพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ การพัฒนาสูตรอาหาร และการศึกษาด้านการจำลองทางคณิตศาสตร์ (math model) ของระบบเพาะเลี้ยง
2. สารเคมีมูลค่าสูง (High Value Chemicals)
มีการดำเนินงานวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีมูลค่าสูงในสาหร่ายสไปรูลิน่า โดยศึกษาวิจัยสภาวะการเลี้ยง อิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมต่อการสร้างสารต่างๆ ในสาหร่าย สไปรูลิน่า การสกัดสารเคมีมูลค่าสูง เช่น ลิปิดหรือ GLA ไฟโคไซยานิน และโพลีแซคคาไรด์จากสาหร่ายสไปรูลิน่า รวมถึงการศึกษาคุณสมบัติการเป็นสารออกฤทธิ์ชีวภาพ (Bioactive compound) ของสารต่างๆในสาหร่าย สไปรูลิน่า
3. การศึกษาด้านชีวโมเลกุล (Molecular biology)
มุ่งเน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจด้านสรีวิทยาของสาหร่ายสไปรูลิน่า รวมถึงกลไกการควบคุม และการสังเคราะห์กรดไขมันจำเป็น และไฟโคไซยานิน โดยมีงานวิจัยด้าน Transformation Proteomic Genomic และ In silico Spirulina modeling
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การบริการ
สาหร่ายสไปรูลิน่า (อาร์โธรสไปร่า)
หนังสือสาหร่ายสไปรูลิน่า (อาร์โธรสไปร่า) มีเนื้อหาด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสาหร่ายสไปรูลิน่า และได้รวบรวมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำสาหร่ายนี้ไปใช้ประโยชน์ในด้านเภสัชกรรม อาหารสัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของสาหร่ายสไปรูลิน่า
แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา ชัยกล้าหาญ, ณัฐยาภรณ์ ชิระสุวรรณ และรศ.บุษยา บุนนาค
ISBN 978-974-456-680-5; 51 หน้า
ราคา 130 บาท
การสั่งซื้อ รายละเอียด
ผลงาน
การจดสิทธิบัตร
ชื่อผลงาน: การพัฒนากระบวนการสร้างกรดไขมันที่มีพันธะคู่สามพันธะในโมเลกุล, gamma-linolenic acid หรือ GLA และ alpha-linolenic acid หรือ ALA โดยการพัฒนาลำดับ นิวคลีโอไทด์และลำดับกรดอะมิโนของยีนเดลต้า 6-ดีแสททูเรส (delta 6- desaturase) และยีน เดลต้า 12-ดีแสททูเรส (delta 12-desaturase) ของไซยาโนแบคทีเรียสไปรูลิน่า (Spirulina platensis) ในเซลล์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae
ผู้ประดิษฐ์: นส. พีรดา พรหมมีเนตร, นส. อภิรดี หงส์ทอง, นส. ภาวิณี เกิดฤทธิ์, Ms. Sanjukta Subudhi, นาง สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์
ยื่นจดในประเทศไทย เมื่อตุลาคม 2549
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศ
-
Chirasuwan, N., Chaiklahan, R., Ruengjitchatchawalya, M., B. Bunnag and Tanticharoen, M. 2007 “Anti HSV-1 Activity of Spirulina platensis Polysaccharide” Kasetsart J. (Nat. Sci.) 41: 311-318.
-
Prommeenate, P., Kurdrit, P. Sirijuntarut, M. and Hongsthong, A. 2007 “Expression of Fatty Acid Desaturase Enzymes from Cyanobacterium Spirulina platensis in Yeast Saccharomyces cerevisiae” Kasetsart J. (Nat. Sci.) 41(1): 130-135.
-
Chaiklahan, R., Khonsarn, N., Chirasuwan, N., Ruengjitchatchawalya, M. Bunnag, B. and Tanticharoen, M. 2007 “Response of Spirulina platensis C1 to High Temperature and High Light Intensity” Kasetsart J. (Nat. Sci.) 41(1):123-129.
-
Kunsuk, J., Ruengjitchawalaya, M., Chaiklahan, R.,Hongsthong, A., Bunnag, B. and Tanticharoen, M. 2004 “Effect of berberine on fatty acid composition in plasma and thylakoid membrane in Spirulina sp. Journal of Scientific Research Chulalongkorn University (Section T), ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ 1, 279-286.
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
-
Subudhi, S., Kurdrid, P., Hongsthong, A., Sirijuntarut, M., Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. 2008 "Isolation and functional characterization of Spirulina D6D gene promoter: Rple of a putative GntR transcription factor in transcriptional regulation of D6D gene expression" Biochemical and Biophysical Research Communication, 365:643-649.
-
Hongsthong, A., Sirijuntarut, M., Prommeenate, P., Thammathorn, S., Bunnag, B., Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. 2007 “Revealing differentially expressed proteins in two morphological forms of Spirulina platensis by proteomic analysis” Molecular Biotechnology, 36: 123-130.
-
Kurdrid, P., Subudhi, S., Cheevadhanarak, S., Tanticharoen, M. and Hongsthong, A. 2007 “Effect of two intermediate electron donors, NADPH and FADH2, on Spirulina delta 6-desaturase co-expressed with two different immediate electron donors, cytochrome b5 and ferredoxin, in Escherichia coli” Mol. Biol. Rep., 34: 261-266.
-
Hongsthong A., Subudhi, S., Sirijuntarut, M., Kurdrid, P. and Cheevadhanarak, S. 2006. Revealing the complementation of ferredoxin by cytochrome b5 in Spirulina-delta 6-desaturation reaction by N-terminal fusion and coexpression of fungal-cytochrome b5 domain and Spirulina-delta 6-acyl-lipid desaturase. Appl. Microbiol. Biotechnol. 72:1192-1201.
-
Kurdrit, P., Subudhi, S., Hongsthong, A., Ruengjitchatchawalya, M. and Tanticharoen, M. 2005 “Functional expression of Spirulina -delta 6-desaturase gene in Yeast Saccharomyces cerevisiae” Mol. Biol. Reports, 32(4):215-226.
-
Ruengjitchatchawalya, M., Kov?cs, L., Mapaisansup, T., Sallai, A., Gombos, Z., Ponglikitmongkol, M. and Tanticharoen, M. 2005 “Higher plant-like fluorescence induction and thermoluminescence characteristics in cyanobacterium, Spirulina mutant defective in PQH2 oxidation by cytb6/f complex” Journal of Plant Physiology, 162: 1123-1132.
-
Hongsthong, A., Subudhi, S., Sirijuntarat, M. and Cheevadhanarak, S. 2004 “Mutation study of conserved amino acid residues of Spirulina delta 6-acyl-lipid desaturase showing involvement of histidine 313 in the regioselectivity of the enzyme. App. Microbiol. Biotechnol.66: 74-84.
-
Hongsthong, A., Paithoonrangsarid, K., Phapugrangkul, P., Deshnium, P., Sirijuntarat, M., Subhudhi, S., Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. 2004 “The expression of three desaturase genes of Spirulina platensis in Escherichia coli DH5a–Heterologous expression of Spirulina-desaturase genes, Mol. Biol. Reports. 31: 177-189.
-
Hongsthong, A., Deshnium, P., Paitoonrangsarid, K., Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. 2003. “Differential Responses of Three Acyl-Lipid Desaturases to Immediate Temperature Reduction Occurring in Two Lipid Membranes of Spirulina platensis Strain C1” J. Biosci. Bioeng. 96(6), 519-524.
-
Hongsthong, A., Deshnium, P., Paitoonrangsarid, K., Phapugrangkul, P., Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. “Effect of temperature on the desaturase genes translation in Spirulina platensis C1.” Journal of Applied Phycology. . (Proceeding)
-
Ruengjitchatchawalya, M., Chirasuwan, N., Chaiklahan, R., Bunnag, B., Deshnium, P. and Tanticharoen, M. 2002. “Photosynthetic characteristics of a mutant of Spirulina plantensis.” Journal of Applied Phycology. 14: 71-76.
-
Meesapyodsuk, D., Reed, D.W., Cheevadhanarak, S., Deshnium, P. and Covello,P.S. 2001. “Probing the mechanism of a cyanobacterial delta 9 fatty acid desaturase frome Spirulina platensis C1 (Arthrospira sp. PCC9438)” Comparative Biochemistry and Physiology PartB. 129: 831-835.
-
Deshnium, P., Paitoonrangsarid, K., Suphatrakul, A., Meesapyodsuk, D., Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. 2000 “Temperature-independent and dependent expression of desaturase genes in filamentous cyanobacterium Spirulina platensis C1 (Arthrospira sp PCC9438).” FEMS Micro. Lett.184:207-213.
-
Nomsawai, P., Tandeau. de Marsac, N., Claude Thomas, J., Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. 1999 “Light regulation of phycobilisome structure and gene expression in Spirulina platensis C1 (Arthrospira sp. PCC9438)” Plant Cell Physioloy.40(12): 1194-1202.
-
Vonshak, A., Kancharaksa, N., Bunnag, B. and Tanticharoen, M.1996 “Role of light and photosynthesis on the acclimation process of the cyanobacterium Spirulina platensis to salinity stress” Journal of Applied Phycology.. 8:119-124.
-
Vonshak, A., Chanawongse, L., Bunnag, B. and Tanticharoen, M.1996 “Light acclimation and photoinhibition in three Spirulina platensis (cyanobacteria) isolates”. Journal of Applied Phycology. 8:35-40.
-
Vonshak, A., Chanawongse, L., Bunnag, B. and Tanticharoen, M.1995 “Physiological characterization of Spirulina platensis isolates: Response to light and salinity” Plant Physiology. 14:161-166.
-
Tanticharoen, M., Reungjichachawali, M., Boonag, B., Vonktaveesuk, P., Vonshak, A. and Cohen, Z. 1994 “Optimization of g-linolenic acid (GLA) production in Spirulina platensis”. Journal of Applied Phycology. 6:295-300.
-
Chanawongse, L., Lee, Y.K., ., Bunnag, B. and Tanticharoen, M. 1994 “Productivity of the cyanobacterium Spirulina platensis in cultures using sunlight” Bioresource Technology. 48:143-148.
-
Cohen, Z, Reungjichachawali, M., Siangdung, W. and Tanticharoen, M. 1993. Production and partial purification of g-linolenic acid and some pigments from Spirulina platensis. Journal of Applied Phycology. 5:109-115.
-
Cohen, Z, Reungjichachawali, M., Siangdung, W., Tanticharoen, M. and Heimer, Y.M. 1993 “Herbicide-resistant lines of microalgae: growth and fatty acid composition” Phytochemistry 34(4): 973-978.
-
Tanticharoen, M., Bunnag, B. and Vonshak, A. 1993 “Cultivation of Spirulina using Secondary treated starch wastewater” Australasian Biotechnology. 3:223-226.
สนใจเอกสารฉบับเต็มติดต่อ e-mail:
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
,
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
บุคคลากรของกลุ่ม
ที่ปรึกษา
คณะทำงาน
-
รศ. บุษยา บุนนาค
-
รศ.ดร. สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์
-
ผศ.ดร. มารศรี เรืองจิตชัชวาลย์
-
ดร. อภิรดี หงส์ทอง
-
ดร.วิภาวรรณ เสียงดัง
-
ดร.กัลยาณี ไพฑูรย์รังสฤษดิ์
-
Dr. Sanjukta Sabudhi
-
ดร. พีรดา พรหมมีเนตร
-
นางวัฒนา เชฐกุล
-
นางสาวรัตนา ชัยกล้าหาญ
-
นางสาวณัฐยาภรณ์ ชิระสุวรรณ
-
นางสาวมธุรา สิริจันทรัตน์
-
นางสาวสุดารัตน์ ดุลสวัสดิ์
-
นางภาวิณี รักเรืองเดช
-
นางสาวทิพวรรณ มาไพศาลทรัพย์
-
นางสาวรยากร ยุทธนาสิริกุล
ที่อยู่
กลุ่มวิจัย เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
83 หมู่ 8 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์: 0 2470 7484 แฟกซ์: 0 2452 3455
|
|
|