หน่วยปฏิบัติการวิจัย
และพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
Biochemical Engineering
and Pilot Plant Research and Development Unit
(BEC)
ประวัติความเป็นมา
หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ (BEC) เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วม มือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์วิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้าน วิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ โดยในปี พ . ศ . 2529 กลุ่มวิจัยที่ร่วมมือกันทำงานวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถและเทคโนโลยีทาง ด้านวิศวกรรมชีวเคมีของ มจธ . ได้ เสนอโครงการความร่วมมือเพื่อจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการต่อ ศช . และได้รับความเห็นชอบให้เป็นหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย โดยมีเกณฑ์อ้างอิง การทำงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และทำการบริหารงานอย่างอิสระโดยกลุ่มวิจัยของ มจธ . ในระยะที่หนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2537
ในระยะที่ 2 ระหว่างปี พ . ศ . 2538 – 2542 ศช . ได้ปรับเปลี่ยนจากหน่วยงานราชการเป็นองค์กรในกำกับของรัฐ และ นักวิจัยนักเรียนทุนของ ศช . ได้เริ่มจบกลับมา ทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ศช . ได้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือของหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นการขอเข้ามาจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการของ ศช . ณ มหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยมอบให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ ทำหน้าที่บริหารจัดการหน่วยให้กับ ศช . และได้จัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี (2538- 2542) ไว้เป็นหลัก / กรอบของการทำงาน เน้นการทำงานตามแผนปฏิบัติการโดยส่งเสริมและประสานความร่วมมือของนักวิจัยของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งจะทำงานอยู่ในห้อง ปฏิบัติการวิจัยต่างๆ ที่ร่วมมือกันอยู่ทั้งภายใต้การดำเนินงานของ มจธ . ในลักษณะให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่ สุดร่วมกัน แต่กลไกการดำเนินงานยัง ไม่ได้มีการพัฒนาให้เป็นระบบที่มีความชัดเจน สำหรับความร่วมมือระหว่าง มจธ . และ ศช .
การดำเนินงานในระยะที่ 3 ระหว่างปี พ . ศ . 2543 – 2547 รูปแบบความร่วมมือได้เปลี่ยนเป็น ศช . โดยความร่วมมือกับ มจธ . จัดตั้งหน่วย BEC ขึ้นดำเนินการ ณ มจธ . เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ และจัดทำความร่วมมือเป็นข้อตกลงที่ เป็นทางการ (MOU) ให้มีความชัดเจนใน กิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย และความเข้าใจถึงการสนับสนุนและบทบาทของแต่ละฝ่าย โดยได้มีพิธีลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งหน่วย BEC เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 และมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน 5 ปี ฉบับที่ 2 (2543-2547) ไว้เป็นกรอบของการทำงาน ใน การดำเนินงานในระยะที่ 3 ได้มีการ ประเมินการดำเนินงานของหน่วย BEC โดยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ตามแผนการดำเนินงานในช่วงปี 2543-2546 ผลการประเมินพบว่า ผลการดำเนินงานของหน่วย BEC ใน กลุ่มวิจัยต่างๆ มีผลงานที่ก้าวหน้าในระดับดีถึงดีมาก มีการสั่งสมความรู้ ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ได้ ซึ่งจากผลการประเมินดังกล่าว เมื่อ การดำเนินงานในระยะนี้สิ้นสุดลง ศช. และ มจธ. ได้ตกลงขยายระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือออกไปอีก 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ บันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2542 สิ้นสุดลง และได้มีการหารือระหว่างผู้บริหารหน่วยปฏิบัติการฯ กับผู้บริหารของ ศช. และ มจธ. เพื่อปรับรูปแบบความร่วมมือใน ระยะต่อไป โดยจากผลสำเร็จของความ ร่วมมือในการดำเนินงานหน่วย BEC ในระยะที่ผ่านมา กลุ่มวิจัยต่างๆ ในหน่วยได้สร้างความสามารถทางเทคโนโลยี มีความเข้มแข็ง มากขึ้น โดยมีกลุ่มวิจัยที่พัฒนาเติบโตมี ความพร้อมในการพัฒนาไปสู่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง / ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มวิจัย Waste Utilization and Management (WUM) มีการพัฒนา เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูง มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนำไปสู่การใช้ในระดับโรงงาน อุตสาหกรรม และมีความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงใน ระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งมีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นการดำเนินงานเป็นศูนย์เชี่ยวชาญระดับชาติได้ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็น ชอบให้ดำเนินการปรับโครงสร้างของหน่วย BEC โดยการแยกกลุ่มวิจัย Waste Utilization and Management (WUM) ออกไปดำเนินงานในลักษณะศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ระดับชาติต่อไป
หน่วย BEC เริ่มดำเนินการแผน 5 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2549- พ.ศ. 2553) ในปีงบประมาณ 2549 ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง อย่างเป็นทางการระหว่าง มจธ. และ ศช. ขยายระยะเวลาความร่วมมือต่อไปเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงาน วิจัย พัฒนาและวิศวกรรมด้าน วิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบของประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จะเสริมงานวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม พัฒนา ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริการทางวิชาการ และ การพัฒนาบุคลากร ในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรอบการทำงานประกอบด้วยงานในกลุ่มวิจัยหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิจัยด้าน เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย ( Algal Biotechnology), เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology), การพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของ จุลินทรีย์ ( Microbial Bioprocess Development), เทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร ( Food Technology and Engineering), และ ชีววิทยาระบบและชีวสา รสนเทศ ( Systems Biology and Bioinformatics) รวมถึงงานทางด้านโรงงานต้นแบบการหมักและงานบริการวิชาการในด้านต่างๆ
การดำเนินงานของหน่วย BEC ปัจจุบัน อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหน่วยตั้งแต่ เริ่มจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน
|