|
|
Sunday, 22 December 2024
|
|
|
|
หน้าหลัก งานวิจัยและพัฒนา Biochem. Eng. & Pilot Plant Research and Dev. Unit (Thai) |
Biochem. Eng. & Pilot Plant Research and Dev. Unit (Thai) - ประวัติที่มา |
|
|
|
หน้า 3 จาก 13
การบริหารจัดการกลุ่มวิจัย
หน่วยปฏิบัติการฯ ร่วมดำเนินงานกับสำนักสวนอุตสาหกรรม (IPC) สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (PDTI) และคณะ ทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี (SBT) ของ มจธ. บริหารงานวิจัยในรูปแบบของกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) โดยมีบุคลากรจากหน่วยงานดังกล่าวมาร่วมมือเพื่อดำเนิน งานวิจัย โดยมีแนวคิดว่าการ พัฒนาระบบวิจัยที่เข้มแข็งจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงสองทาง (Two-way Communication) ระหว่างความต้องการของเทคโนโลยี (Demand Pull) และการสร้าง ความรู้ใหม่ (Supply Push) ในกลไกของมหาวิทยาลัยปกติไม่เอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงดังกล่าวได้ ในขณะเดียวกัน ความสำเร็จในการทำงาน ของสวนอุตสาหกรรมก็ขึ้นกับความ เข้มแข็งทางวิชาการและการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง งานของหน่วยปฏิบัติการฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ R&D Cluster จึงครอบคลุมงาน ในกลุ่มวิจัย ตั้งแต่การสร้างงานวิจัย และพัฒนาที่มีคุณภาพสูง การให้บริการวิชาการ คำปรึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน ให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการ พัฒนานวัตกรรม และเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้าน การวิจัยขั้นสูง
แนวคิดเรื่อง R&D Cluster เป็นความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงการทำวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และความเป็นเลิศ ( Ex cell ence) การผลิตบัณฑิตและนักวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน การดำเนินการ ณ มจธ. เริ่มโดยการปรับโครงสร้างการบริหารให้เกิด การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่าง สรบ. สสอ. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และหน่วย BEC โดยแบ่งกลุ่มการบริหารและดำเนินการออกเป็น 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มบริหารและนโยบาย ทำหน้าที่กำกับทิศทาง งานวิจัย งานบริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ใช้กลไก การบริหารงบประมาณแบบแผนงาน/โครงการ (Planning Programming and Budgeting System: PPBS) เป็นกลไกในการกำกับทิศทาง โดยมหาวิทยาลัยจะ พิจารณา Input-Output ส่วนกลุ่ม R&D Cluster บริหารภายในหน่วยงานได้เองทั้งหมด รวมถึงการกำหนดเงินเดือนส่วนเพิ่มของพนักงาน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกฎ ระเบียบของมหาวิทยาลัย
- ห้องปฏิบัติการวิจัย (Research Lab) และกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) ที่มีกลุ่มวิจัยทำหน้าที่วิจัย สร้าง งานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพสูง และให้คำปรึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านการวิจัยขั้นสูง ห้องปฏิบัติการวิจัยเหล่านี้จะถูกบริหารในลักษณะกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) ที่มีกลุ่มวิจัยและวิชาการเป็นแกน องค์ประกอบของกลุ่มวิจัยประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มวิจัย นักวิจัยอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญระดับ Post Doctoral นักศึกษา ระดับปริญญาเอก นักศึกษาระดับปริญญาโท
- หน่วยงานสนับสนุน (Supporting Groups) ทำหน้าที่สนับสนุนในเรื่องงานธุรการของโครงการและการ บริหารงานทั่วไป รวมถึงการสนับสนุนการเป็นหน่วยงาน ประสานสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม (University-Industrial Liaison Office)
รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มวิจัยแบบ R&D Cluster โดยห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นศูนย์กลางของการทำวิจัยและหน่วยสนับ สนุนการผลิตบัณฑิตและ นักวิจัย โดยมีการจัดกลุ่มวิจัยอย่างหลวมๆ ทำให้ R&D Cluster สามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตบัณฑิต นักวิจัย การทำ วิจัย การบริการวิชาการ สังคม มีการพัฒนาระบบผู้ช่วยสอนและระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย โดยมีหัวหน้าห้องปฏิบัติการและนักวิจัยอาวุโสเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัย ในขณะเดียวกันก็เอื้อให้เกิด การทำงานวิจัยระหว่าง กลุ่ม ระหว่างสาขา ระหว่างสถาบันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับโจทย์และหัวข้อวิจัย และรวมทั้งเป็นการระดมทรัพยากร ผู้รู้ และความ เชี่ยวชาญ (Expertise) จากหลายๆ สาขาวิชา เพื่อร่วมดำเนินการวิจัย ซึ่งก่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบวิจัย
การบริหารการเงินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ R&D Cluster มีความยืดหยุ่นในการบริหารและจัดหางบประมาณในลักษณะ โครงการ (Project Base) โดยที่ นักวิจัยและกลุ่มวิจัยต้องทำข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ และเป็นลักษณะพึ่งตนเอง งบประมาณที่หามาได้ จะนำมารวมกันในรูปของกองทุน โดย มีหน่วยงานสนับสนุนทำหน้าที่ให้บริการด้านบัญชีและการเบิกจ่าย ทั้งนี้เป็นไปตามความรับผิดชอบของหัวหน้าโครงการ และตามแนว นโยบายของคณะผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม การใช้ทรัพยากรและงบประมาณต่างๆ สามารถใช้ร่วมกันระหว่างโครงการวิจัย และระหว่างกลุ่มวิจัยได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบ ที่หน่วยงานกำหนดไว้ ด้วยระบบการ บริหารงบประมาณดังกล่าว ทำให้ R&D Cluster มีความยืดหยุ่นในการบริหารงบประมาณวิจัย และสร้างความเข้มแข็งของ ระบบวิจัย โดยคำนึงถึงความอยู่รอดของ องค์กรมากกว่าการอยู่รอดเฉพาะโครงการวิจัยย่อยๆ หรือเฉพาะกลุ่มวิจัยเท่านั้น
|
|
|
|
|
|