Sunday, 22 December 2024 |
หน้าหลัก arrow งานวิจัยและพัฒนา arrow Biochem. Eng. & Pilot Plant Research and Dev. Unit (Thai)
Biochem. Eng. & Pilot Plant Research and Dev. Unit (Thai) - ประวัติที่มา PDF พิมพ์ อีเมล์
ดัชนี บทความ
ประวัติที่มา
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
การบริหาร
จัดการ
งบประมาณ
สนับสนุน
ทิศทาง
ดำเนินงาน
บุคลากร
ผลการดำเนิน
งาน 1
ผลการดำเนิน
งาน 2
ผลการดำเนิน
งาน 3
ผลการดำเนิน
งาน 4
ดัชนีชี้วัด
รายชื่อคณะ
อนุกรรมการ
บริหาร
สถานที่
ติดต่อ

ทิศทางการดำเนินงานวิจัย

หน่วยฯ มีทิศทางการดำเนินงานวิจัยในกลุ่มวิจัยหลัก 5 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย ( Algal Biotechnology ) : <link to Lab AGB> กลุ่มวิจัยมีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนา ให้ได้เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชน และ เป็นที่ปรึกษาให้แก่ภาคเอกชน มีการสร้างกลุ่มเครือข่าย ความร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปแบบของ Spirulina consortium ในการให้คำปรึกษา แก้ปัญหาและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม การวิจัยและ พัฒนาการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าที่มีผลผลิตสูงในระดับอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนากระบวนการ / ระบบต้น แบบในการสกัดสารเคมีมูลค่าสูง ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค และไฟโค ไซยานินจากสาหร่ายสไปรูลิน่า การพัฒนายาต้านไวรัสจากสาหร่าย การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานในการ ศึกษาพัฒนาสายพันธุ์สาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มมูลค่าของ สาหร่าย โดยการเพิ่มปริมาณกรดแกมม่าลิโนเลนิค (GLA) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณสมบัติใช้เป็นอาหารเสริม บำรุงสุขภาพและใช้ในทางการแพทย์ การดำเนินงาน โครงการหาลำดับเบสของจีโนมสไปรูลิน่า
  2. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์ ( Sensor Technology ) : <link to Lab SST> กลุ่มวิจัยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาหัววัดและวิธีการ วัดสารต่างๆ อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อใช้ในตัวอย่างทางด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ โดยมีงานวิจัยใน 3 กลุ่มงานใหญ่ ดังนี้
    • ไบโอเซนเซอร์ (Bio sensors): งานวิจัยที่ดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนา เทคนิคการตรึง biomaterial บนส่วนของทรานส์ดิวเซอร์ด้วย กระบวนการทั้งทางเคมีและเคมีไฟฟ้า เพื่อให้ได้ biomembrane ที่มี catalytic reaction และความ จำเพาะเจาะจงสูง ตลอดจนมีการพัฒนาเทคนิคการ fabricate และ ระบบการวัดเพื่อให้ได้เซนเซอร์ที่มีความสะดวกต่อการ ผลิตและการใช้ของ end-user ตัวอย่าง ได้แก่ เซน เซอร์ตรวจวัดน้ำตาลกลูโคสและซูโครส แป้ง ผงชูรส เอทธานอล ออร์ กาโน ฟอสฟอรัส ฟีนอล และบีโอดี
    • Chemically modified electrodes: ได้แก่ การโมดิฟายด์อิเลกโท รดด้วยสารเคมีและวิธีการที่เน้นด้านเคมีไฟฟ้า การสังเคราะห์ biocompatible redox polymer เพื่อพัฒนาเซนเซอร์ทางการแพทย์ การ deposit อนุภาคขนาดเล็กของ โลหะบนฟิล์มโพลิเมอร์เพื่อเพิ่ม catalytic reaction หรือการ โมดิฟายด์อิเลกโทรดด้วยฟิล์ม Nafion เพื่อป้องกันปฏิกิริยารีดอกซ์จากสารแทรกสอด เป็นต้น
    • Electroanalytical techniques: คือการพัฒนาเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และปริมาณ ตัวอย่างได้แก่ การนำเทคนิค pulse amperometric detection มาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลกลูโคสและ ฟรุกโตส หรือการใช้เทคนิค stripping ร่วมกับโมดิฟายด์ อิเลกโทรดเพื่อวิเคราะห์ปริมาณ organohalides เป็นต้น
  3. กลุ่มวิจัยการพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของจุลินทรีย์และโรงงานต้นแบบการหมัก ( Microbial Bioprocess Development and Pilot Plant Fermentation): <link to PDTI lab data> งานในกลุ่มวิจัยนี้ประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการ วิจัยต่างๆ ได้แก่ Animal Cell Culture, Microbial Fermentation, Solid State Fermentation, Fungal Biotechnology, Pilot Plant Fermentation มีเป้าหมายในการทำ วิจัยและพัฒนา เพื่อ เพิ่มองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพของจุลินทรีย์ ที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ ยีสต์ แบคทีเรีย และรา มีการศึกษาในระดับ ชีววิทยาโมเลกุล การ พัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้เกิดความเข้าใจการทำงานของจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ และนำมาใช้ ในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต สารมูลค่าสูง (high value product) ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบกับการวิจัย พัฒนาด้านเทคโนโลยีการหมักที่ มุ่งเป้าการพัฒนาการเลี้ยงจุลินทรีย์ในอาหาร เหลวและอาหารแข็งในระดับห้องปฏิบัติการและโรงงาน ต้นแบบ มีงานด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์และโรงงานต้นแบบการหมัก
    การศึกษาในเรื่องการขยายขนาดการผลิต recombinant protein ของไวรัสไข้เลือดออกโดยเซลล์แมลง ซึ่งมีเป้า หมายในการนำไปใช้เพื่อประกอบเป็นชุดตรวจวินิจฉัย การติดเชื้อไข้เลือดออกที่ผลิตได้เองภายในประเทศ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้า จากต่างประเทศ เพิ่มความสะดวกและ รวดเร็ว ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สิน
    การศึกษา กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวของ Bacillus subtilis เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติกใน อุตสาหกรรม
  4. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร ( Food Technology and Engineering ) : <link to lab data> กลุ่มวิจัยดำเนินงานในเรื่องการพัฒนากระบวน การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างศักยภาพและ ความสามารถด้านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อเป็น ต้นแบบ และบริการแก่อุตสาหกรรมอาหาร โครงการ Solid-liquid flow ในกระบวนการผลิตวิศวกรรมชีวภาพแบบต่อเนื่อง ซึ่งมีเป้าหมายการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบการ ไหลแบบสองวัฏภาคของของแข็ง ขณะเคลื่อนที่อยู่ในของเหลวในกระบวน การผลิตทางวิศวกรรมชีวภาพภายใต้สภาวะ อุณหภูมิสูง อันจะเป็นองค์ความรู้นำไปสู่การออกแบบ ระบบที่ถูกต้อง และกำหนดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตแบบปลอดเชื้อ (aseptic processing) ให้ดียิ่ง ขึ้น
  5. กลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ ( Systems Biology and Bioinformatics ) : <link to lab data> กลุ่มวิจัยมีเป้า หมายเน้นการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านชีวสารสนเทศและเทคนิคด้านการสร้างแบบจำลองของเซลล์ รวมถึงการ วิเคราะห์และประเมินกิจกรรมภายในเซลล์ เพื่อศึกษากระบวนการ สังเคราะห์และผลิตกรดไขมันที่มีประโยชน์ในเชิงการแพทย์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดี่ยว เช่น ยีสต์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้น ฐานของการศึกษาในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง การศึกษาการสังเคราะห์แป้ง ในหัวมันสำปะหลังเพื่อใช้ปรับปรุงคุณลักษณะของแป้งให้ตรงตามความต้องการของตลาด และการใช้แบบ จำลองกิจกรรมภายในเซลล์ของเชื้อวัณโรคเพื่อการค้นหาและพัฒนา ยารักษาวัณโรค ตัวอย่างงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเมตาโบลิซึมของลิปิดในยีสต์ เพื่อ ปรับปรุงความสามารถการผลิตลิปิดในยีสต์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เมตาโบลิกฟลักซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างของวิถีการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกในเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ของยา


 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
สงวนลิขสิทธิ์ 2550-2562 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) : 49 ซอยเทียนทะเล 25 ถนน บางขุนเทียนชาย-ทะเล แขวง ท่าข้าม เขต บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร.66-2-4707453, โทรสาร.66-2-4523455

Copyrights 2007-2019 Pilot Plant Development and Training Institute
King Mongkut's University of Technology Thonburi (Bangkuntien) : 49 Soi Thian Thale 25, Bang Khun Thian Chai Thale Road, Tha Kham, Bang Khun Thian, Bangkok 10150
Tel. 66-2-4707453 Fax. 66-2-4523455