ผลการดำเนินงาน
1. เทคโนโลยีที่นำไปใช้ประโยชน์แล้วและพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสาหร่าย
• เทคโนโลยีการผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่า : เทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมการผลิตสาหร่ายสไปรู ลิน่าซึ่งเป็นระบบที่มีความเหมาะ สมต่อการเลี้ยงสาหร่ายในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าซึ่งเริ่มจากการใช้น้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ในระบบบ่อที่ติดตั้งใบพัดเติมอากาศ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์แห้งที่มีโปรตีนร้อยละ 55 ค่าความชื้น ร้อยละ 7 และในการคำนวณการลงทุนสำหรับการผลิตในพื้นที่ 1.5 เฮ คเตอร์ ด้วยปริมาณการผลิต 40 ตันต่อปี ประมาณเงินลงทุน $6,000 – $7,000 ต่อตัน ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้เอกชนที่ผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าแล้ว และมีการผลิตขายในระดับอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น
กลุ่มวิจัยการพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของจุลินทรีย์และโรงงานต้นแบบการหมัก
• เทคโนโลยีการผลิตยีสต์ขนมปังในระดับอุตสาหกรรม : หน่วยฯ มีสายพันธุ์ยีสต์ที่มีคุณสมบัติดีที่คัดเลือกได้จากใน ประเทศ และมีความสามารถใน การผลิตยีสต์ได้ในปริมาณมาก ทั้งนี้ได้มีการรับจ้างผลิตยีสต์ให้กับหน่วยงานที่ต้องการได้ในปริมาณมากๆ อีกด้วย เพื่อการทดลองตลาดและ/ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์
• เทคโนโลยีการผลิต Bacillus subtilis : หน่วยฯ สามารถผลิต B. subtilis ใน ถังปฏิกรณ์ขนาด 150 และ 1,500 ลิตร และสามารถรับจ้างผลิตในปริมาณมากได้
• การขยายขนาดการผลิต : การพัฒนากระบวนการหมักแบบอาหารแข็งสำหรับการผลิตสาร Umami ในระดับโรง งานต้นแบบ โดยที่สาร Umami เป็นสารที่ได้จากการหมักถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์ โดยมีกรดอะมิโนกลูตาเมท (Glumamte) เป็นสารประกอบที่สำคัญ ซึ่งบริษัทผลิต อาหารนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการเพิ่ม รสชาติให้กับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เบื้องต้น ศช. ได้ร่วมกับบริษัทเอกชนพัฒนากระบวนการผลิต ศึกษาการหมักถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์ Bacillus subtilis และการอบแห้งในระดับห้องปฏิบัติการ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงให้ทางหน่วย BEC นำมาทดลองขยายขนาดการผลิตตัวอย่างในระดับโรง งานต้นแบบ โดยทำการทดลองผลิต ทั้งกระบวนการการหมักแบบอาหารเหลวและอาหารแข็ง ผลจากการหมักในกระบวนการผลิตโดยอาหารเหลว พบว่ามีกลิ่นดีและมี glutamate อยู่ในปริมาณที่สูงตามที่ต้องการ แต่กระบวนการผลิตโดยอาหารเหลวยังมีต้นทุนการผลิตสูง ในส่วนกระบวนการหมักแบบอาหารแข็งในถังหมุน (rotating drum bioreactor) ซึ่งเป็นวิธีการหมักที่รวมข้อดี ของการหมักแบบแข็งโดยตรงแต่ได้เพิ่มระบบการระบายอากาศที่ดี ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปริมาณ glutamate สูงตามที่ ต้องการเช่นกัน และต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าใน ขณะที่ยังคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับที่พึงพอใจ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่อไป
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์
• เทคนิค Screen-Printed Electrode สำหรับวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในเลือด : ได้ทำการศึกษาพัฒนาการตรึง เอนไซม์กลูโคสออกซิเดส โดย เทคนิคพิมพ์สกรีนบนแผ่นฟิล์มหนาและสามารถผลิตหัววัดที่มี reproducibility ได้ในปริมาณมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาสร้างเครื่องต้นแบบ เครื่องวัดน้ำตาลกลูโคสที่จะ ผลิตในเชิงการค้า
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร
• การพัฒนาการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในกระบวนการผลิตอาหาร : ได้มีการศึกษากระบวนการฆ่าเชื้ออาหารใน ภาชนะปิดด้วยความร้อนในหม้อฆ่าเชื้อ (retort) จัดทำค่า sterilizing value ของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ เพื่อเป็นค่ามาตรฐานและใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ กับหม้อฆ่าเชื้อที่ออกแบบพัฒนาขึ้นให้ สามารถใช้กับอาหารในบรรจุภัณฑ์จากวัสดุหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ลงได้อย่างมาก
กลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ
• การพัฒนาผลิตภัณฑ์ : การสร้างซอพแวร์แบบจำลองเชื้อยีสต์ และแบบจำลองเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิคด้านชีววิทยา ระบบและชีวสารสนเทศ โดยกลุ่ม วิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ ได้พัฒนาแบบจำลองของยีสต์ในระดับจีโนมขึ้นเพื่อใช้จำลองและทำนายผลของยีนหรือเอนไซม์ต่างๆ ต่อ การเจริญเติบโต และการ สังเคราะห์ลิปิดภายในเซลล์ยีสต์ โดยสามารถสร้างเครือข่ายเมตาโบลิซึมที่มีความจำเพาะต่อยีสต์ได้สำเร็จ จากข้อมูลต่างๆ ด้านจีโนม และใช้เครื่องมือ ทางชีวสารสนเทศ ทำการ วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของเครือข่ายการสังเคราะห์ลิปิดและวิเคราะห์ค่าฟลักซ์ของปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์สายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่แนว ทางการปรับปรุงกระบวน การผลิตลิปิดในเชื้อราสายพันธุ์ใหม่ และได้พัฒนาแบบจำลองเชื้อวัณโรคจากข้อมูลจีโนม เพื่อใช้หาเป้าหมายใหม่ของยาต้านเชื้อวัณโรค โดยวิเคราะห์ หาวิถีเมตาโบลิซึมพื้นฐาน ของเครือข่ายการสร้างสารกรดไขมันและกรดนิวคลีอิคซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เนื่องจากการขาดหายไปของเอนไซม์ในวิถีดังกล่าวจะส่งผล ให้เซลล์ไม่สามารถดำรง ชีวิตอยู่ได้ ซึ่งเทคนิคและซอพแวร์ทางชีวสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นจะสามารถใช้เป็น virtual lab โดยการใช้การทดลองจำลองบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถทำการ ทดลองเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเมตาโบลิซึมในระดับของยีน เพื่อนำไปสู่การออกแบบปรับปรุงคุณสมบัติของเซลล์ที่ต้องการได้ และช่วยลดระยะเวลาใน การศึกษาในห้องปฏิบัติ การได้
|