Monday, 06 January 2025 |
หน้าหลัก arrow งานวิจัยและพัฒนา arrow Excellent Center Excellent Center of Waste Utilization and Manage
Excellent Center Excellent Center of Waste Utilization and Manage PDF พิมพ์ อีเมล์

ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ
และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร  
Excellent Center of Waste Utilization
and Management (ECoWaste)

ความเป็นมาของศูนย์ ECoWaste

ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร (Excellent Center of Waste Utilization and Management) หรือเรียกสั้นๆว่า ECoWaste เป็นหน่วยงานภายใต้ecow1.jpgความร่วมมือของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) มีประสบการณ์ในการศึกษา วิจัยด้านการบำบัดและจัดการของเสียมากว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของอาจารย์ นักวิจัยและวิศวกร ที่สนใจด้านการบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยเน้นที่การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าว น้ำมันปาล์ม อาหารและผลไม้กระป๋อง โดยใช้เทคโนโลยีแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Technology) ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงานได้ด้วยกระบวนการเดียวกัน งานวิจัยของกลุ่มนี้ได้เริ่มงานทางด้านก๊าซชีวภาพโดยการริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ และรองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ecow2.jpgที่เป็นผู้บุกเบิก จากโครงการการใช้ประโยชน์จากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ASEAN Economic Cooperation Programme (AAECP) ในความร่วมมือของ ASEAN Working Group on Food Waste Materials ในเริ่มแรก และอาจารย์ทั้ง 2 ท่านได้ผลักดันก่อให้เกิดกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพขึ้นในสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะพลังงานและวัสดุ ซึ่งต่อมาแยกออกมาเป็นคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีในปี พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – บางมด และในปี 2539 กลุ่มวิจัยนี้มีการขยายงานวิจัยและพัฒนามากขึ้นและในหลายแขนง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสีย (Waste Utilization and Management Laboratory) และได้ย้ายมาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – บางขุนเทียนเมื่อปี พ.ศ. 2543 ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้ยกระดับขึ้นเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ ไบโอเทค

จากการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ของศูนย์ ECoWaste ทำให้งานทางด้านก๊าซชีวภาพที่เป็นเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งเดิมเป็นเพียงลักษณะการผลิตก๊าซชีวภาพโดยขาดความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ทางศูนย์ ECoWaste มีส่วนช่วยทำให้ประเทศไทยมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับแนวหน้า และมีเทคโนโลยีในระดับอุตสาหกรรมโดดเด่นในภูมิภาคนี้ของเอเชีย มีการใช้ประโยชน์จากการบำบัดน้ำเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

วิสัยทัศน์

ECoWaste มุ่งสู่ความเป็นศูนย์ชั้นนำของภูมิภาค ในการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการของเสียอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานทดแทน

พันธกิจ

ทำการวิจัยและพัฒนา เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร โดยเฉพาะด้านการบำบัดของเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ทำการสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งในประเทศและภูมิภาค

เป้าหมาย

ศูนย์ ECoWaste จะมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี/การออกแบบการผลิตก๊าซชีวภาพทางวิศวกรรม งานวิจัยพื้นฐานทางด้านจุลินทรีย์และชีวเคมีของการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เพื่อพัฒนาให้ระบบทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทน นอกจากนี้ยังศึกษาการจัดการของเสียและการนำของเสียไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการลดปริมาณของเสียในอุตสาหกรรมเกษตร / เทคโนโลยีสะอาด จากองค์ความรู้ที่ได้ในประเทศ ศูนย์ ECoWaste มีเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งจะช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่ขาดแคลนในสาขานี้ ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง และลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและสังคม และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาสืบไป

กลุ่มงานวิจัย (Key Research Areas)

งานวิจัยและพัฒนาในกลุ่มนี้เน้น 4 แนวทางหลัก คือ ecow3.jpg

  1. กลุ่มงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ศึกษา (Microbiological and Biochemical Aspect) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านจุลินทรีย์และชีวเคมีเกี่ยวกับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไม่ใช้อากาศ พัฒนาเทคนิคการตรวจและนับจำนวนจุลินทรีย์ ตลอดจนติดตามการเปลี่ยนแปลง ชนิด จำนวน และบทบาทความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ
  2. กลุ่มงานวิจัยด้านถังปฏิกรณ์พัฒนา (Reactor and Process Development)ecow4.jpg ดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาถังปฏิกรณ์ชนิดต่างๆที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ศึกษาและพัฒนากรรมวิธีในการเริ่มต้นระบบ (Start up) และดูแลระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้อากาศ เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมที่สุด ทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชนิดต่างๆ ในถังปฏิกรณ์ ศึกษาและพัฒนาถังปฏิกรณ์กำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ รูปแบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ รวมทั้งขยายผลการวิจัยที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้จริงในระดับอุตสาหกรรม ecow5.jpg
  3. กลุ่มงานวิจัยด้านระบบควบคุมและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Computational Aids and Process Optimization) ดำเนินงานเกี่ยวกับการ พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถทำนายสภาวะในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และพัฒนารูปแบบการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียชนิด On-line Measurement ecow6.jpg
  4. กลุ่มงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ (Environmental Research and Management) ศึกษาถึงความเป็นได้ และความเหมาะสมของการนำเทคโนโลยีที่ได้จากห้องปฏิบัติการไปสร้างและใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรมecow7.jpg ศึกษาและประเมินผลกระทบของการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียทั้งในแง่สภาวะแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ศึกษาและวิจัยการใช้เทคโนโลยีสะอาดและการลดปริมาณของเสีย รวมทั้งการติดตามและตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรม ระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ทั้งในแง่การใช้ทรัพยากร การก่อมลพิษ และการกำจัดมลพิษ เพื่อนำปัญหาที่ได้มาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

งานบริการและให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ecow8.jpg

ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร มีส่วนงานบริการวิชาการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • ส่งเสริมการใช้องค์ความรู้ในการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียโดยเน้นอุตสาหกรรมการเกษตร ด้วยเทคโนโลยีการบำบัดทางชีวภาพแบบไม่ใช้อากาศ เพื่อให้ได้พลังงานจากก๊าซชีวภาพและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
  • บริการและให้คำปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ตลอดเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
  • รับทดสอบและศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่สนใจ
  • เป็นหน่วยงานประสานงานและจัดฝึกอบรม เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญสู่การใช้งานจริงและนำปัญหาที่ได้จากโรงงานกลับเข้ามาศึกษาหาคำตอบต่อไป  ecow9.jpg

การออกแบบ

  • รับประเมินและศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ให้คำปรึกษา ออกแบบ และก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ให้คำปรึกษาด้านการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ

การให้คำปรึกษา ecow10.jpg

  • ให้คำปรึกษาในการควบคุมดูแลการดำเนินระบบบำบัดน้ำเสีย
  • รับดูแลและติดตามระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ตรวจประเมินและแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียที่ล้มเหลว
  • ให้คำปรึกษาในการเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำเสีย (Startup)
  • ให้คำปรึกษาในการดำเนินการลดการใช้สารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย
  • เป็นต้น

ทดสอบและประเมินผล ecow11.jpg

  • ทดสอบและประเมินความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุ ของเสียต่างๆ
  • ทดสอบความเป็นพิษของสารต่างๆต่อกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ
  • ทดสอบการย่อยสลายของเสียที่สภาวะต่างๆ ในระดับห้องปฏิบัติการ
  • รับตรวจประเมินประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ตรวจประเมินการใช้ทรัพยากร และการผลิตของเสียของระบบต่างๆ
  • แก้ไข ลดการก่อให้เกิดของเสียในขั้นตอนต่างของกระบวนการผลิต
  • เป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณของเสีย
  • เป็นที่ปรึกษาในการจัดการของเสียและการใช้ประโยชน์ของเสีย

อบรม/สัมมนา ecow12.jpgecow13.jpg

  • รับจัดฝึกอบรม สัมมนา การใช้ประโยชน์จากของเสียประเภทต่างๆ
  • จัดอบรม ด้านเทคนิคการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ
  • อบรมสัมมนาเทคนิคทางด้านเชื้อของระบบบำบัดแบบไร้อากาศ

รางวัลที่ได้รับ

ระดับประเทศ  ecow14.jpg ecow15.jpg

  • รางวัลผลงานวิจัยระดับชมเชยจากสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2545 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และอุตสาหกรรมวิจัย เรื่อง “ ระบบบําบัดน้ำเสียไร  อากาศประสิทธิภาพสูงแบบตรึงเซลล์สําหรับโรงงานอุตสาหกรรม ”
  • รางวัลโครงการดีเด่นด้านพลังงานใหม่และหมุนเวียนของประเทศไทยประจำปี 2546 ประเภท off-grid เรื่อง “ โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบําบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ ” จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
  • รางวัลสภาวิจัย ประเภทรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับชมเชย ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประจำปี 2547 เรื่อง “ การพัฒนาการเกิดฟิล์มชีวระหว่างการเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำเสียในถังปฏิกรณ์แบบลูกผสม ” โดย ดร. เบญจพร สุรารักษ์ ซึ่งมี ศาสตราจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ และ รศ. ดร. ภาวิณี ชัยประเสริฐ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  • โรงงานชลเจริญ  ได้รับรางวัล Taguchi’s Prize สำหรับภาคเอกชนดีเด่นทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยได้รับการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากทีมวิจัย ECoWaste ในเรื่องการจัดการโรงงานและบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง  พิธีมอบรางวัลวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 ณ งาน Thai Society for Biotechnology

ระดับนานาชาติ   ecow16.jpgecow17.jpg

  • รางวัล Seed Award 2005 (ประจำปีพ.ศ. 2548) จาก SEED (Supporting Entrepreneurs for Environment and Development) ที่จัดโดย IUCN - The World Conservation Union, UNEP and UNDP ร่วมกับองค์กรต่างๆ ได้ให้การสนับสนุนในโครงการ “Cows to Kilowatts” ที่เสนอโครงการโดย Global Network for Environment and Economic Development Research (NGO) ประเทศไนจีเรีย ร่วมกับ หน่วยงานในประเทศ ได้แก่ Centre for Youth และ Family and the Law และ Sustainable Ibadan Project (UN-HABITAT Programme) ที่ใช้เทคโนโลยีระบบบำบัดแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ชนิดไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Fixed Film - AFF) ของศูนย์ ECoWaste ที่กลุ่มได้ทำการวิจัยพัฒนาและมีความเชี่ยวชาญ โดยทีมนักวิจัยของศูนย์ฯทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการออกแบบระบบบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์ในประเทศไนจีเรีย รวมถึงเป็นที่ปรึกษาและการฝึกอบรมบุคลากร

ผลงานวิชาการ (Selected Publications)

ระดับนานาชาติ

  • Cleaner Production in Thailand Tapioca Starch Industry (2001), Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III
  • Best Practice Environmental Management Guidelines for the Tapioca Processing Industry , Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III
  • Suraraksa, B., Nopharatana, A., Chaiprasert, P., Tanticharoen, M. and Bhumiratana, S. (2003) “ Microbial Activity of Biofilm During Start-Up Period of Anaerobic Hybrid Reactor at Low and High Upflow Feeding Velocity ”, Water Science and Technology, 48(8): 79-87.
  • Chaiprasert, P., Suvajittanont, W., Suraraksa, B., Tanticharoen, M., and Bhumiratana, S. (2003) “ Nylon Fiber as Supporting Media in Anaerobic Hybrid Reactors: Its Effects on System's Performance and Microbial Distribution ,” Water Research, 37: 4605-4612.
  • Suvajittanont, W. and Chaiprasert, P. (2003) “ Potential of Biogas Recirculation to Enhance Biomass Accumulation on Supporting Media ,” Bioresource Technology, 88 (2003), 157-162.
  • Suraraksa, B., Nopharatana, A., Chaiprasert, P., Tanticharoen, M. and Bhumiratana, S. (2003) “ Effect of Substrate Feeding Concentration on Initial Biofilm Development in Anaerobic Hybrid Reactor ,” ASEAN Journal on Science and Technology for Development, 20(3-4): 361-372.
  • Sanpoti, N., Towprayoon, S., CHAIPRASERT, P., and Nopharatana, A. (2006) “ Enhancing Waste Decomposition and Methane Production in Simulated Landfill Using Combined Anaerobic Reactors,” Water Science and Technology ”, 53 (8): 243-251.
  • Sanpoti, N., Towprayoon, S., CHAIPRASERT, P., and Nopharatana, A. (2006) “ The Effects of Leachate Recirculation with Supplemental Water Addition on Methane Production and Waste Decomposition in a Simulated Tropical Landfill ,” Journal of Environmental Management, 81: 27-35 .
  • Boonapatcharoen, N., Meepian, K., Juproputtasri, W., Chaiprasert, P. and Sechkarnjanarak, S. (2006) “ Microbial Population During Operation Periods of Anaerobic Hybrid Reactor Treating Cassava Starch Wastewater ”, IWA World Water Congress Beijing , China , 10-14 September.
  • Boonapatcharoen, N., Wanichpongpan, P., Ruenglertpanyakul, W., and Techkarnjanaruk, S. (2006) “ Effect of Natural Sunlight on Microbial Population in Shrimp Farming Sediment ”, In Proc. International Conference on Environmental and Public Health Management, Hong Kong, People Republic China, 7 December.
  • Suraraksa, B., Meepian, K. and Chaiprasert, P. (2007) “ Microbial Population and Microbial Activity as Indicating Factor for Controlling Anaerobic Hybrid Reactor (AHR) ”, The Conference Water Micro 2007, Japan, 9-15 Sep, 2007.
  • Boonapatcharoen, N., Meepian, K., Chaiprasert, P. and Techkarnjanaruk, S. (2007) “ Molecular Monitoring of Microbial Population During Operation Periods of Anaerobic Hybrid Reactor Treating Cassava Starch Wastewater , Journal of Microbial Ecology. Vol.54: 21-30.
  • Phalakornkule, C., Wongnoi, R. and Songkasiri, W. (2007) “ Influence of a Three-Phase Separator Configuration on the Performance of a UASB Reactor Treating Wastewater from a Fruit Canning Factory ”, Journal of Water Environment Research. 79(2), 199-207.
  • Songkasiri, W., Sasadoor, W., Wisitrungruang, W., Tipwong, S. and Nopharatana, A. (2007) “ Increase of Dewatering Efficiency and Starch Recovery using Extractors in Pulp Management for a Native Cassava Starch Production Factory ”, International Symposium on Air Quality and Waste Management for Agriculture, Broomfield, CO, USA, September 15-19.
  • Saengchan, K., Wisitrungruang, W., Sasadoor, W., Nopharatana, A. and Songkasiri, W (2007) “ Reducing Sulfur Residue in Tapioca Starch Product ”, Tapioca Eco-Industrial Cluster in Vietnam, Ho Chi Minh City, Vietnam, August 28-29.
  • Somboonchai, W., Songkasiri, W., Nopharatana, M. 2007. “ Kinetics of Cyanide Oxidation by Ozone in Cassava Starch Production Process ”, Journal of Food Engineering. 7 July 2007 . published on-line.
  • Suraraksa, B., Kullavanijaya, P., and CHAIPRASERT, P. (2008) “ Accelerating Biofilm Formation on Supporting Media for Reducing Start-up Period of Anaerobic Hybrid (AH) Reacto r,” Biofilm Technologies Conference, January 8-10, Nanyang Executive Centre , Nanyang Technological University (NTU) campus , Singapore .
  • Suraraksa, B., Nopharatana, A., CHAIPRASERT, P., and Tanticharoen, M. (2008) “ Aspect of Initial Biofilm Development of Mixed Culture in Anaerobic Hybrid (AH) Reactor at Low and High Upflow Feeding Velocities ,” Biofilm Technologies Conference, January 8-10, Nanyang Executive Centre , Nanyang Technological University (NTU) campus , Singapore.
  • Laowansiri, S., Vinitnantharat, S., Chaiprasert, P. and Ha, S.R., 2008, “ Anaerobic Degradation Kinetics of Reactive Dye with Different Carbon Sources ,” Journal of Environmental Biology , 29(3), 309-314.

ระดับประเทศ

  • Chaiprasert, P., S. Bhumiratana and M. Tanticharoen (2001) “ Mesophilic and Thermophilic Anaerobic Digestion of Pineapple Cannery Wastes ,” Thammasat International Journal of Science and Technology, Vol. 6 (2): p. 1-9.
  • Pantamas, P., Chaiprasert, P. and Tanticharoen, M. (2003) “ Anaerobic Digestion of Glucose by Bacillus Licheniformis and Bacillus coagulans at Low and High Alkalinity ”, Asian Journal of Energy and Environment, 4(1-2): 1-17.
  • Tran, T.T., Nopharatana, A. and Chaiprasert, P. (2003) “ Performance of Anaerobic Hybrid and Mixing Reactors in Treating Domestic Wastewater ,” Asian Journal of Energy and Environment, 4(1-2): 19-39.
  • Deddoung, M., Suraraksa, B., and CHAIPRASERT, P. (2007) “Enhancement of Biofilm Development at Initial Strat-up Period of Various Feeding Velocities and Substrate Concentrations,” NSTDA Annual Conference (NAC 2007): Science and Technology for National Productivity and Happiness, 28-30 March, Science Park, Phatumthani, Thailand .
  • Petchsri, P., Towprayoon, S., CHAIPRASERT, P., and Nopharatana, A. (2006) “ The Effect of Precipitation on Municipal Solid Waste Decomposition and Methane Production in Simulated Landfill Bioreactor with Leachate Recirculation ”, Songklanakarin Journal Science and Technology, 28(3): 615-631.
  • Chaiprasert, P. (2006) “Technology Transfer on Biogas Technology: Wastewater to Energy by Anaerobic Fixed Film System” Proceeding The 18 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology “Biotechnology: Benefits & Bioethics” November 2-3, The Montien Riverside Hotel Bangkok , Thailand .
  • Kullavanijaya, P., Paepatung, Loapitinan, O., N., Songkasiri, W., Nopharatana, A., and CHAIPRASERT, P. (2007) “ An Overview of Status and Potential of Biomethanation Technology in Thailand ,” KMUTT Research and Development Journal, Special Issue 30(4), 693-700.
  • Petchrungchruang, U., Songkasiri, W., and CHAIPRASERT, P., 2008, “ Water Quality Classification for Rasper, Extractor and Separator as a Key Indicator Index for Water Consumption in Tapioca Starch Factory ,” The Proceedings of 4 th Naresuan Environmental Annual Conference, May 26-27, Naresuan University , Payao , Thailand .
  • Phutarak, P., Songkasiri, W., and CHAIPRASERT, P., 2008, “ Secondary Wastewater Treatment of Cassava Starch Factory Using Horizontal Subsurface Flow Constructed Wetland ,” The Proceedings of 4 th Naresuan Environmental Annual Conference, May 26-27, Naresuan University , Payao , Thailand .
  • Eksomthramate, T., Songkasiri, W., and CHAIPRASERT, P., 2008, “ Hydrolysis of Cassava Peels and Pulps from Cassava Starch Processing for Ethanol Production ,” The Proceedings of 4 th Naresuan Environmental Annual Conference, May 26-27, Naresuan University , Payao , Thailand .

เป็นต้น

งานวิจัยที่ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ . 2549-2551

  • โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร
  • การส่งเสริมการเกิดฟิล์มชีวในช่วงเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบลูกผสม
  • การตรวจสอบติดตามกลุ่มประชากรจุลินทรีย์ Syntrophic Acetogenic Bacteria ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศโดยใช้ 16s rDNA Oligonucleotide probe hybridization
  • การขยายขนาดของถังปฏิกรณ์สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ทฤษฎีการคำนวณพลศาสตร์ของไหล Computational fluid dynamic (CFD) model
  • การประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์ไม่ใช้อากาศแบบลูกผสมสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพ และบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม
  • รูปแบบการเริ่มต้นระบบที่เหมาะสมต่อกลุ่มจุลินทรีย์ในฟิล์มชีว เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศแบบลูกผสม
  • แนวทางการลดการสูญเสียแป้งมันสำปะหลังด้วยโพสไซโคลน
  • การพัฒนาไฮโดรไซโคลนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแยกแป้งสำหรับหน่วยแยกแป้งมันสำปะหลัง
  • ผลของมุมและความเร็วของน้ำฉีดในการสกัดแป้งของกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
  • แบบจำลองทำนายเพื่อควบคุมกระบวนการอบแห้งแป้งมันสำปะหลัง
  • โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยผลิต และลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน: โรงงานแป้งมันสำปะหลังนำร่อง
  • การศึกษาศักยภาพชีวมวลสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย
  • การศึกษาศักยภาพเทคโนโลยีสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวลในประเทศไทย
  • การศึกษาชนิดและการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา
  • การศึกษาแบบจำลองจลนศาสตร์ของการย่อยสลายของเสียที่มีองค์ประกอบเซลลูโลสเป็นหลักเพื่อการผลิตมีเธน
  • การตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตโดยใช้ carboxyfluorescein diacetate (cFDA) เพื่อใช้ในการประเมินคุณสมบัติของเชื้อจุลินทรีย์ตั้งต้นสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ
  • การประเมินเทคโนโลยีและศักยภาพเศษวัสดุทางการเกษตรและพืชปลูกเพื่อพลังงานสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย
  • การใช้ถังปฏิกรณ์แบบลูกผสมในการบำบัดน้ำเพื่อหมุนเวียนนำกลับมาใช้ในโรงงานแป้งมันสำปะหลังในระดับอุตสาหกรรม
  • การศึกษาประชากรจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกัดกร่อนของท่อส่งก๊าซธรรมชาติด้วยเทคนิคชีววิทยาโมเลกุล
  • การทำความสะอาดก๊าซชีวภาพโดยวิธีทางชีวภาพด้วย Biofilter
  • เป็นต้น

บุคคลากร

คณะที่ปรึกษา

  • ศาสตราจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ เตีย
  • รองศาสตราจารย์ ดร. โสฬส สุวรรณยืน
  • รองศาสตราจารย์ บุษยา บุนนาค
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี ชัยประเสริฐ

ผู้อำนวยการศูนย์ ECoWaste

  • ดร. อรรณพ นพรัตน์

คณะทำงาน

  • ดร. ชินพงศ์ วังใน
  • คุณจงกล พูนทวี
  • คุณนันทิยา เปปะตัง
  • คุณประทิน กุลละวณิชย์
  • คุณวาริน รักร่วม
  • คุณเอกสิทธิ์ เดชพิริยชัย
  • คุณนิมารดี บุญอาพัทธิ์เจริญ
  • ดร. วรกฤษ สุวจิตตานนท์ *
  • ดร. สมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ *
  • ดร. เบญจพร สุรารักษ์ *
  • ดร.วรินธร สงคศิริ*
  • ดร.มาลินี ลีโทชวลิต *
  • คุณวุฒิพงษ์ ศรีทองคำ *
  • คุณพรพรรณ พาณิชย์นำสิน *

* บุคคลากรภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

ที่อยู่ติดต่อ

ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เลขที่ 83 หมู่ 8 แขวงท่าข้าม
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150


โทรศัพท์ 02-470-7469, 02-470-7520, 02-470-7521
โทรสาร 02-452-3455

 
< ก่อนหน้า   ถัดไป >
สงวนลิขสิทธิ์ 2550-2562 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) : 49 ซอยเทียนทะเล 25 ถนน บางขุนเทียนชาย-ทะเล แขวง ท่าข้าม เขต บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร.66-2-4707453, โทรสาร.66-2-4523455

Copyrights 2007-2019 Pilot Plant Development and Training Institute
King Mongkut's University of Technology Thonburi (Bangkuntien) : 49 Soi Thian Thale 25, Bang Khun Thian Chai Thale Road, Tha Kham, Bang Khun Thian, Bangkok 10150
Tel. 66-2-4707453 Fax. 66-2-4523455