Biochem. Eng. & Pilot Plant Research and Dev. Unit (Thai)

หน่วยปฏิบัติการวิจัย
และพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ

Biochemical Engineering
and Pilot Plant Research and Development Unit
(BEC)

 

ประวัติความเป็นมา

หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ (BEC) เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วม มือระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์วิจัยพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้าน วิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ โดยในปี พ . ศ . 2529 กลุ่มวิจัยที่ร่วมมือกันทำงานวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถและเทคโนโลยีทาง ด้านวิศวกรรมชีวเคมีของ มจธ . ได้ เสนอโครงการความร่วมมือเพื่อจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการต่อ ศช . และได้รับความเห็นชอบให้เป็นหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย โดยมีเกณฑ์อ้างอิง การทำงานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และทำการบริหารงานอย่างอิสระโดยกลุ่มวิจัยของ มจธ . ในระยะที่หนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2537

ในระยะที่ 2 ระหว่างปี พ . ศ . 2538 – 2542 ศช . ได้ปรับเปลี่ยนจากหน่วยงานราชการเป็นองค์กรในกำกับของรัฐ และ นักวิจัยนักเรียนทุนของ ศช . ได้เริ่มจบกลับมา ทำงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ศช . ได้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือของหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย ณ มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นการขอเข้ามาจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการของ ศช . ณ มหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยมอบให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ ทำหน้าที่บริหารจัดการหน่วยให้กับ ศช . และได้จัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี (2538- 2542) ไว้เป็นหลัก / กรอบของการทำงาน เน้นการทำงานตามแผนปฏิบัติการโดยส่งเสริมและประสานความร่วมมือของนักวิจัยของทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งจะทำงานอยู่ในห้อง ปฏิบัติการวิจัยต่างๆ ที่ร่วมมือกันอยู่ทั้งภายใต้การดำเนินงานของ มจธ . ในลักษณะให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่ สุดร่วมกัน แต่กลไกการดำเนินงานยัง ไม่ได้มีการพัฒนาให้เป็นระบบที่มีความชัดเจน สำหรับความร่วมมือระหว่าง มจธ . และ ศช .

การดำเนินงานในระยะที่ 3 ระหว่างปี พ . ศ . 2543 – 2547 รูปแบบความร่วมมือได้เปลี่ยนเป็น ศช . โดยความร่วมมือกับ มจธ . จัดตั้งหน่วย BEC ขึ้นดำเนินการ ณ มจธ . เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ และจัดทำความร่วมมือเป็นข้อตกลงที่ เป็นทางการ (MOU) ให้มีความชัดเจนใน กิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย และความเข้าใจถึงการสนับสนุนและบทบาทของแต่ละฝ่าย โดยได้มีพิธีลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งหน่วย BEC เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 และมีการจัดทำแผนการดำเนินงาน 5 ปี ฉบับที่ 2 (2543-2547) ไว้เป็นกรอบของการทำงาน ใน การดำเนินงานในระยะที่ 3 ได้มีการ ประเมินการดำเนินงานของหน่วย BEC โดยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ตามแผนการดำเนินงานในช่วงปี 2543-2546 ผลการประเมินพบว่า ผลการดำเนินงานของหน่วย BEC ใน กลุ่มวิจัยต่างๆ มีผลงานที่ก้าวหน้าในระดับดีถึงดีมาก มีการสั่งสมความรู้ ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ได้ ซึ่งจากผลการประเมินดังกล่าว เมื่อ การดำเนินงานในระยะนี้สิ้นสุดลง ศช. และ มจธ. ได้ตกลงขยายระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือออกไปอีก 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ บันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2542 สิ้นสุดลง และได้มีการหารือระหว่างผู้บริหารหน่วยปฏิบัติการฯ กับผู้บริหารของ ศช. และ มจธ. เพื่อปรับรูปแบบความร่วมมือใน ระยะต่อไป โดยจากผลสำเร็จของความ ร่วมมือในการดำเนินงานหน่วย BEC ในระยะที่ผ่านมา กลุ่มวิจัยต่างๆ ในหน่วยได้สร้างความสามารถทางเทคโนโลยี มีความเข้มแข็ง มากขึ้น โดยมีกลุ่มวิจัยที่พัฒนาเติบโตมี ความพร้อมในการพัฒนาไปสู่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง / ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มวิจัย Waste Utilization and Management (WUM) มีการพัฒนา เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูง มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนำไปสู่การใช้ในระดับโรงงาน อุตสาหกรรม และมีความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงใน ระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งมีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นการดำเนินงานเป็นศูนย์เชี่ยวชาญระดับชาติได้ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็น ชอบให้ดำเนินการปรับโครงสร้างของหน่วย BEC โดยการแยกกลุ่มวิจัย Waste Utilization and Management (WUM) ออกไปดำเนินงานในลักษณะศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ระดับชาติต่อไป

หน่วย BEC เริ่มดำเนินการแผน 5 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2549- พ.ศ. 2553) ในปีงบประมาณ 2549 ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลง อย่างเป็นทางการระหว่าง มจธ. และ ศช. ขยายระยะเวลาความร่วมมือต่อไปเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 30 กันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงาน วิจัย พัฒนาและวิศวกรรมด้าน วิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบของประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จะเสริมงานวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม พัฒนา ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การ ถ่ายทอดเทคโนโลยี การบริการทางวิชาการ และ การพัฒนาบุคลากร ในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรอบการทำงานประกอบด้วยงานในกลุ่มวิจัยหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิจัยด้าน เทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย ( Algal Biotechnology), เทคโนโลยีเซนเซอร์ (Sensor Technology), การพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของ จุลินทรีย์ ( Microbial Bioprocess Development), เทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร ( Food Technology and Engineering), และ ชีววิทยาระบบและชีวสา รสนเทศ ( Systems Biology and Bioinformatics) รวมถึงงานทางด้านโรงงานต้นแบบการหมักและงานบริการวิชาการในด้านต่างๆ

การดำเนินงานของหน่วย BEC ปัจจุบัน อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ รศ.ดร.โสฬส สุวรรณยืน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการหน่วยตั้งแต่ เริ่มจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

BEC จะเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางด้านวิศวกรรมชีวเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องและโรงงานต้น แบบ
ชั้นนำของภูมิภาค ทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรม และการบริการวิชาการ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ ประเทศและสังคม

พันธกิจ

ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการและเทคโนโลยี ทางด้าน วิศวกรรมชีวเคมีและเทคโนโลยีชีวภาพที่ เกี่ยวข้อง ให้นำไปสู่การถ่ายทอดและการใช้งานจริงหรือในเชิงการค้า ทั้งในประเทศและภูมิภาค โดยอาศัยการใช้ระบบ / อุปกรณ์ / โรงงานต้นแบบและการจำลองแบบทาง วิศวกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน

การบริหารจัดการกลุ่มวิจัย

หน่วยปฏิบัติการฯ ร่วมดำเนินงานกับสำนักสวนอุตสาหกรรม (IPC) สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (PDTI) และคณะ ทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี (SBT) ของ มจธ. บริหารงานวิจัยในรูปแบบของกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) โดยมีบุคลากรจากหน่วยงานดังกล่าวมาร่วมมือเพื่อดำเนิน งานวิจัย โดยมีแนวคิดว่าการ พัฒนาระบบวิจัยที่เข้มแข็งจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงสองทาง (Two-way Communication) ระหว่างความต้องการของเทคโนโลยี (Demand Pull) และการสร้าง ความรู้ใหม่ (Supply Push) ในกลไกของมหาวิทยาลัยปกติไม่เอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงดังกล่าวได้ ในขณะเดียวกัน ความสำเร็จในการทำงาน ของสวนอุตสาหกรรมก็ขึ้นกับความ เข้มแข็งทางวิชาการและการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง งานของหน่วยปฏิบัติการฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ R&D Cluster จึงครอบคลุมงาน ในกลุ่มวิจัย ตั้งแต่การสร้างงานวิจัย และพัฒนาที่มีคุณภาพสูง การให้บริการวิชาการ คำปรึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน ให้ความช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการ พัฒนานวัตกรรม และเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขัน และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้าน การวิจัยขั้นสูง

แนวคิดเรื่อง R&D Cluster เป็นความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงการทำวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และความเป็นเลิศ ( Ex cell ence) การผลิตบัณฑิตและนักวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน การดำเนินการ ณ มจธ. เริ่มโดยการปรับโครงสร้างการบริหารให้เกิด การใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่าง สรบ. สสอ. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี และหน่วย BEC โดยแบ่งกลุ่มการบริหารและดำเนินการออกเป็น 3 กลุ่มคือ

  • กลุ่มบริหารและนโยบาย ทำหน้าที่กำกับทิศทาง งานวิจัย งานบริการวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ใช้กลไก การบริหารงบประมาณแบบแผนงาน/โครงการ (Planning Programming and Budgeting System: PPBS) เป็นกลไกในการกำกับทิศทาง โดยมหาวิทยาลัยจะ พิจารณา Input-Output ส่วนกลุ่ม R&D Cluster บริหารภายในหน่วยงานได้เองทั้งหมด รวมถึงการกำหนดเงินเดือนส่วนเพิ่มของพนักงาน ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามกฎ ระเบียบของมหาวิทยาลัย
  • ห้องปฏิบัติการวิจัย (Research Lab) และกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) ที่มีกลุ่มวิจัยทำหน้าที่วิจัย สร้าง งานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพสูง และให้คำปรึกษา การพัฒนาเทคโนโลยีแก่ภาคเอกชน รวมทั้งเป็นหน่วยสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านการวิจัยขั้นสูง ห้องปฏิบัติการวิจัยเหล่านี้จะถูกบริหารในลักษณะกลุ่มวิจัย (R&D Cluster) ที่มีกลุ่มวิจัยและวิชาการเป็นแกน องค์ประกอบของกลุ่มวิจัยประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มวิจัย นักวิจัยอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญระดับ Post Doctoral นักศึกษา ระดับปริญญาเอก นักศึกษาระดับปริญญาโท
  • หน่วยงานสนับสนุน (Supporting Groups) ทำหน้าที่สนับสนุนในเรื่องงานธุรการของโครงการและการ บริหารงานทั่วไป รวมถึงการสนับสนุนการเป็นหน่วยงาน ประสานสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม (University-Industrial Liaison Office)

รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มวิจัยแบบ R&D Cluster โดยห้องปฏิบัติการวิจัยเป็นศูนย์กลางของการทำวิจัยและหน่วยสนับ สนุนการผลิตบัณฑิตและ นักวิจัย โดยมีการจัดกลุ่มวิจัยอย่างหลวมๆ ทำให้ R&D Cluster สามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลิตบัณฑิต นักวิจัย การทำ วิจัย การบริการวิชาการ สังคม มีการพัฒนาระบบผู้ช่วยสอนและระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย โดยมีหัวหน้าห้องปฏิบัติการและนักวิจัยอาวุโสเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัย ในขณะเดียวกันก็เอื้อให้เกิด การทำงานวิจัยระหว่าง กลุ่ม ระหว่างสาขา ระหว่างสถาบันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ขึ้นอยู่กับโจทย์และหัวข้อวิจัย และรวมทั้งเป็นการระดมทรัพยากร ผู้รู้ และความ เชี่ยวชาญ (Expertise) จากหลายๆ สาขาวิชา เพื่อร่วมดำเนินการวิจัย ซึ่งก่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบวิจัย

การบริหารการเงินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ R&D Cluster มีความยืดหยุ่นในการบริหารและจัดหางบประมาณในลักษณะ โครงการ (Project Base) โดยที่ นักวิจัยและกลุ่มวิจัยต้องทำข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ และเป็นลักษณะพึ่งตนเอง งบประมาณที่หามาได้ จะนำมารวมกันในรูปของกองทุน โดย มีหน่วยงานสนับสนุนทำหน้าที่ให้บริการด้านบัญชีและการเบิกจ่าย ทั้งนี้เป็นไปตามความรับผิดชอบของหัวหน้าโครงการ และตามแนว นโยบายของคณะผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม การใช้ทรัพยากรและงบประมาณต่างๆ สามารถใช้ร่วมกันระหว่างโครงการวิจัย และระหว่างกลุ่มวิจัยได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามระเบียบ ที่หน่วยงานกำหนดไว้ ด้วยระบบการ บริหารงบประมาณดังกล่าว ทำให้ R&D Cluster มีความยืดหยุ่นในการบริหารงบประมาณวิจัย และสร้างความเข้มแข็งของ ระบบวิจัย โดยคำนึงถึงความอยู่รอดของ องค์กรมากกว่าการอยู่รอดเฉพาะโครงการวิจัยย่อยๆ หรือเฉพาะกลุ่มวิจัยเท่านั้น

งบประมาณสนับสนุน

หน่วย BEC ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากแหล่งทุนต่างๆ ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (ศช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ทุนสนับสนุนงานวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆ รายรับจากการรับจ้างวิจัย งานบริการวิชาการทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ทิศทางการดำเนินงานวิจัย

หน่วยฯ มีทิศทางการดำเนินงานวิจัยในกลุ่มวิจัยหลัก 5 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสาหร่าย ( Algal Biotechnology ) : <link to Lab AGB> กลุ่มวิจัยมีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนา ให้ได้เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาคเอกชน และ เป็นที่ปรึกษาให้แก่ภาคเอกชน มีการสร้างกลุ่มเครือข่าย ความร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปแบบของ Spirulina consortium ในการให้คำปรึกษา แก้ปัญหาและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม การวิจัยและ พัฒนาการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าที่มีผลผลิตสูงในระดับอุตสาหกรรม การวิจัยและพัฒนากระบวนการ / ระบบต้น แบบในการสกัดสารเคมีมูลค่าสูง ได้แก่ กรดแกมม่าลิโนเลนิค และไฟโค ไซยานินจากสาหร่ายสไปรูลิน่า การพัฒนายาต้านไวรัสจากสาหร่าย การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานในการ ศึกษาพัฒนาสายพันธุ์สาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มมูลค่าของ สาหร่าย โดยการเพิ่มปริมาณกรดแกมม่าลิโนเลนิค (GLA) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณสมบัติใช้เป็นอาหารเสริม บำรุงสุขภาพและใช้ในทางการแพทย์ การดำเนินงาน โครงการหาลำดับเบสของจีโนมสไปรูลิน่า
  2. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์ ( Sensor Technology ) : <link to Lab SST> กลุ่มวิจัยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาหัววัดและวิธีการ วัดสารต่างๆ อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพื่อใช้ในตัวอย่างทางด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ โดยมีงานวิจัยใน 3 กลุ่มงานใหญ่ ดังนี้
    • ไบโอเซนเซอร์ (Bio sensors): งานวิจัยที่ดำเนินการ ได้แก่ การพัฒนา เทคนิคการตรึง biomaterial บนส่วนของทรานส์ดิวเซอร์ด้วย กระบวนการทั้งทางเคมีและเคมีไฟฟ้า เพื่อให้ได้ biomembrane ที่มี catalytic reaction และความ จำเพาะเจาะจงสูง ตลอดจนมีการพัฒนาเทคนิคการ fabricate และ ระบบการวัดเพื่อให้ได้เซนเซอร์ที่มีความสะดวกต่อการ ผลิตและการใช้ของ end-user ตัวอย่าง ได้แก่ เซน เซอร์ตรวจวัดน้ำตาลกลูโคสและซูโครส แป้ง ผงชูรส เอทธานอล ออร์ กาโน ฟอสฟอรัส ฟีนอล และบีโอดี
    • Chemically modified electrodes: ได้แก่ การโมดิฟายด์อิเลกโท รดด้วยสารเคมีและวิธีการที่เน้นด้านเคมีไฟฟ้า การสังเคราะห์ biocompatible redox polymer เพื่อพัฒนาเซนเซอร์ทางการแพทย์ การ deposit อนุภาคขนาดเล็กของ โลหะบนฟิล์มโพลิเมอร์เพื่อเพิ่ม catalytic reaction หรือการ โมดิฟายด์อิเลกโทรดด้วยฟิล์ม Nafion เพื่อป้องกันปฏิกิริยารีดอกซ์จากสารแทรกสอด เป็นต้น
    • Electroanalytical techniques: คือการพัฒนาเทคนิคทางเคมีไฟฟ้า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และปริมาณ ตัวอย่างได้แก่ การนำเทคนิค pulse amperometric detection มาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลกลูโคสและ ฟรุกโตส หรือการใช้เทคนิค stripping ร่วมกับโมดิฟายด์ อิเลกโทรดเพื่อวิเคราะห์ปริมาณ organohalides เป็นต้น
  3. กลุ่มวิจัยการพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของจุลินทรีย์และโรงงานต้นแบบการหมัก ( Microbial Bioprocess Development and Pilot Plant Fermentation): <link to PDTI lab data> งานในกลุ่มวิจัยนี้ประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการ วิจัยต่างๆ ได้แก่ Animal Cell Culture, Microbial Fermentation, Solid State Fermentation, Fungal Biotechnology, Pilot Plant Fermentation มีเป้าหมายในการทำ วิจัยและพัฒนา เพื่อ เพิ่มองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพของจุลินทรีย์ ที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ ยีสต์ แบคทีเรีย และรา มีการศึกษาในระดับ ชีววิทยาโมเลกุล การ พัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้เกิดความเข้าใจการทำงานของจุลินทรีย์อย่างเป็นระบบ และนำมาใช้ ในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต สารมูลค่าสูง (high value product) ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบกับการวิจัย พัฒนาด้านเทคโนโลยีการหมักที่ มุ่งเป้าการพัฒนาการเลี้ยงจุลินทรีย์ในอาหาร เหลวและอาหารแข็งในระดับห้องปฏิบัติการและโรงงาน ต้นแบบ มีงานด้านการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์และโรงงานต้นแบบการหมัก
    การศึกษาในเรื่องการขยายขนาดการผลิต recombinant protein ของไวรัสไข้เลือดออกโดยเซลล์แมลง ซึ่งมีเป้า หมายในการนำไปใช้เพื่อประกอบเป็นชุดตรวจวินิจฉัย การติดเชื้อไข้เลือดออกที่ผลิตได้เองภายในประเทศ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้า จากต่างประเทศ เพิ่มความสะดวกและ รวดเร็ว ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สิน
    การศึกษา กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวของ Bacillus subtilis เพื่อใช้เป็นโปรไบโอติกใน อุตสาหกรรม
  4. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร ( Food Technology and Engineering ) : <link to lab data> กลุ่มวิจัยดำเนินงานในเรื่องการพัฒนากระบวน การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างศักยภาพและ ความสามารถด้านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อเป็น ต้นแบบ และบริการแก่อุตสาหกรรมอาหาร โครงการ Solid-liquid flow ในกระบวนการผลิตวิศวกรรมชีวภาพแบบต่อเนื่อง ซึ่งมีเป้าหมายการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบการ ไหลแบบสองวัฏภาคของของแข็ง ขณะเคลื่อนที่อยู่ในของเหลวในกระบวน การผลิตทางวิศวกรรมชีวภาพภายใต้สภาวะ อุณหภูมิสูง อันจะเป็นองค์ความรู้นำไปสู่การออกแบบ ระบบที่ถูกต้อง และกำหนดสภาวะที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตแบบปลอดเชื้อ (aseptic processing) ให้ดียิ่ง ขึ้น
  5. กลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ ( Systems Biology and Bioinformatics ) : <link to lab data> กลุ่มวิจัยมีเป้า หมายเน้นการประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านชีวสารสนเทศและเทคนิคด้านการสร้างแบบจำลองของเซลล์ รวมถึงการ วิเคราะห์และประเมินกิจกรรมภายในเซลล์ เพื่อศึกษากระบวนการ สังเคราะห์และผลิตกรดไขมันที่มีประโยชน์ในเชิงการแพทย์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดี่ยว เช่น ยีสต์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้น ฐานของการศึกษาในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง การศึกษาการสังเคราะห์แป้ง ในหัวมันสำปะหลังเพื่อใช้ปรับปรุงคุณลักษณะของแป้งให้ตรงตามความต้องการของตลาด และการใช้แบบ จำลองกิจกรรมภายในเซลล์ของเชื้อวัณโรคเพื่อการค้นหาและพัฒนา ยารักษาวัณโรค ตัวอย่างงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองเมตาโบลิซึมของลิปิดในยีสต์ เพื่อ ปรับปรุงความสามารถการผลิตลิปิดในยีสต์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เมตาโบลิกฟลักซ์ การวิเคราะห์โครงสร้างของวิถีการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิกในเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ของยา

บุคลากรของหน่วย ฯ

การบริหารจัดการของหน่วยฯ จะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะอนุกรรมการบริหารหน่วยฯ และการบริหารโดย ทีมผู้บริหารของ R&D Cluster Bangkhuntien โดยมีบุคลากรจากหน่วยงานที่มีความร่วมมือกันมาร่วมกันปฏิบัติงาน ทั้ง มจธ. และ ศช.

ผลการดำเนินงาน

1. เทคโนโลยีที่นำไปใช้ประโยชน์แล้วและพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสาหร่าย

•  เทคโนโลยีการผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่า : เทคโนโลยีนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมการผลิตสาหร่ายสไปรู ลิน่าซึ่งเป็นระบบที่มีความเหมาะ สมต่อการเลี้ยงสาหร่ายในประเทศไทย ได้มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่าซึ่งเริ่มจากการใช้น้ำทิ้งจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ในระบบบ่อที่ติดตั้งใบพัดเติมอากาศ ซึ่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์แห้งที่มีโปรตีนร้อยละ 55 ค่าความชื้น ร้อยละ 7 และในการคำนวณการลงทุนสำหรับการผลิตในพื้นที่ 1.5 เฮ คเตอร์ ด้วยปริมาณการผลิต 40 ตันต่อปี ประมาณเงินลงทุน $6,000 – $7,000 ต่อตัน ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้เอกชนที่ผลิตสาหร่ายสไปรูลิน่าแล้ว และมีการผลิตขายในระดับอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น

กลุ่มวิจัยการพัฒนากระบวนการทางชีวภาพของจุลินทรีย์และโรงงานต้นแบบการหมัก

•  เทคโนโลยีการผลิตยีสต์ขนมปังในระดับอุตสาหกรรม : หน่วยฯ มีสายพันธุ์ยีสต์ที่มีคุณสมบัติดีที่คัดเลือกได้จากใน ประเทศ และมีความสามารถใน การผลิตยีสต์ได้ในปริมาณมาก ทั้งนี้ได้มีการรับจ้างผลิตยีสต์ให้กับหน่วยงานที่ต้องการได้ในปริมาณมากๆ อีกด้วย เพื่อการทดลองตลาดและ/ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์

•  เทคโนโลยีการผลิต Bacillus subtilis : หน่วยฯ สามารถผลิต B. subtilis ใน ถังปฏิกรณ์ขนาด 150 และ 1,500 ลิตร และสามารถรับจ้างผลิตในปริมาณมากได้

•  การขยายขนาดการผลิต : การพัฒนากระบวนการหมักแบบอาหารแข็งสำหรับการผลิตสาร Umami ในระดับโรง งานต้นแบบ โดยที่สาร Umami เป็นสารที่ได้จากการหมักถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์ โดยมีกรดอะมิโนกลูตาเมท (Glumamte) เป็นสารประกอบที่สำคัญ ซึ่งบริษัทผลิต อาหารนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการเพิ่ม รสชาติให้กับผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เบื้องต้น ศช. ได้ร่วมกับบริษัทเอกชนพัฒนากระบวนการผลิต ศึกษาการหมักถั่วเหลืองโดยใช้จุลินทรีย์ Bacillus subtilis และการอบแห้งในระดับห้องปฏิบัติการ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงให้ทางหน่วย BEC นำมาทดลองขยายขนาดการผลิตตัวอย่างในระดับโรง งานต้นแบบ โดยทำการทดลองผลิต ทั้งกระบวนการการหมักแบบอาหารเหลวและอาหารแข็ง ผลจากการหมักในกระบวนการผลิตโดยอาหารเหลว พบว่ามีกลิ่นดีและมี glutamate อยู่ในปริมาณที่สูงตามที่ต้องการ แต่กระบวนการผลิตโดยอาหารเหลวยังมีต้นทุนการผลิตสูง ในส่วนกระบวนการหมักแบบอาหารแข็งในถังหมุน (rotating drum bioreactor) ซึ่งเป็นวิธีการหมักที่รวมข้อดี ของการหมักแบบแข็งโดยตรงแต่ได้เพิ่มระบบการระบายอากาศที่ดี ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปริมาณ glutamate สูงตามที่ ต้องการเช่นกัน และต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าใน ขณะที่ยังคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับที่พึงพอใจ และสามารถใช้เป็นข้อมูลในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมต่อไป
bec1.jpg

 กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเซนเซอร์

•  เทคนิค Screen-Printed Electrode สำหรับวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลในเลือด : ได้ทำการศึกษาพัฒนาการตรึง เอนไซม์กลูโคสออกซิเดส โดย เทคนิคพิมพ์สกรีนบนแผ่นฟิล์มหนาและสามารถผลิตหัววัดที่มี reproducibility ได้ในปริมาณมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาสร้างเครื่องต้นแบบ เครื่องวัดน้ำตาลกลูโคสที่จะ ผลิตในเชิงการค้า

กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีและวิศวกรรมอาหาร

•  การพัฒนาการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในกระบวนการผลิตอาหาร : ได้มีการศึกษากระบวนการฆ่าเชื้ออาหารใน ภาชนะปิดด้วยความร้อนในหม้อฆ่าเชื้อ (retort) จัดทำค่า sterilizing value ของผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ เพื่อเป็นค่ามาตรฐานและใช้ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับใช้ กับหม้อฆ่าเชื้อที่ออกแบบพัฒนาขึ้นให้ สามารถใช้กับอาหารในบรรจุภัณฑ์จากวัสดุหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ ลงได้อย่างมาก

กลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ

•  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ : การสร้างซอพแวร์แบบจำลองเชื้อยีสต์ และแบบจำลองเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิคด้านชีววิทยา ระบบและชีวสารสนเทศ โดยกลุ่ม วิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ ได้พัฒนาแบบจำลองของยีสต์ในระดับจีโนมขึ้นเพื่อใช้จำลองและทำนายผลของยีนหรือเอนไซม์ต่างๆ ต่อ การเจริญเติบโต และการ สังเคราะห์ลิปิดภายในเซลล์ยีสต์ โดยสามารถสร้างเครือข่ายเมตาโบลิซึมที่มีความจำเพาะต่อยีสต์ได้สำเร็จ จากข้อมูลต่างๆ ด้านจีโนม และใช้เครื่องมือ ทางชีวสารสนเทศ ทำการ วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของเครือข่ายการสังเคราะห์ลิปิดและวิเคราะห์ค่าฟลักซ์ของปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์สายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่แนว ทางการปรับปรุงกระบวน การผลิตลิปิดในเชื้อราสายพันธุ์ใหม่ และได้พัฒนาแบบจำลองเชื้อวัณโรคจากข้อมูลจีโนม เพื่อใช้หาเป้าหมายใหม่ของยาต้านเชื้อวัณโรค โดยวิเคราะห์ หาวิถีเมตาโบลิซึมพื้นฐาน ของเครือข่ายการสร้างสารกรดไขมันและกรดนิวคลีอิคซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เนื่องจากการขาดหายไปของเอนไซม์ในวิถีดังกล่าวจะส่งผล ให้เซลล์ไม่สามารถดำรง ชีวิตอยู่ได้ ซึ่งเทคนิคและซอพแวร์ทางชีวสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นจะสามารถใช้เป็น virtual lab โดยการใช้การทดลองจำลองบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะ ช่วยให้สามารถทำการ ทดลองเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเมตาโบลิซึมในระดับของยีน เพื่อนำไปสู่การออกแบบปรับปรุงคุณสมบัติของเซลล์ที่ต้องการได้ และช่วยลดระยะเวลาใน การศึกษาในห้องปฏิบัติ การได้  

bec2.jpg

2. งานบริการทางวิชาการ

หน่วยฯ ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นและให้บริการทางเทคนิคต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเภทของ งานบริการที่ดำเนินการ เช่น การออกแบบ สร้างอุปกรณ์และโรงงานต้นแบบ การให้คำปรึกษา บริหาร ประเมินโครงการ การทดสอบ ทดลอง ให้เช่าอุปกรณ์และโรงงานต้นแบบ การวิเคราะห์ทางเคมี สิ่งแวดล้อม อาหาร การจัดฝึกอบรม และรับจ้างวิจัย โดยมีตัวอย่างการให้บริการ ดังนี้

  • การผลิต pressed yeast ให้กับบริษัท Bioman
  • การให้บริการโรงงานต้นแบบด้านการทดลองผลิตจุลินทรีย์ Bacillus subtilis เพื่อใช้เป็น โครงการนำร่องเพื่อการทดลองตลาดโปรไบโอติกใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ให้กับบริษัทแกรนด์สยาม จำกัด
  • การให้บริการโรงงานต้นแบบการหมักทดลองผลิตเพื่อใช้บำบัดน้ำเสียในนากุ้งให้กับบริษัทต่างๆ

3. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัย

หน่วยฯ ได้จัดประชุมสัมมนา และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อต่างๆ

  • Mass Cultivation of Spirulina
  • Regional mini-symposium on bio sensor and chemical sensor technology
  • Bioinformatics as a Tool for Gene Manipulation
  • Metabolic Engineering and Functional Genomics
  • Advanced Fermentation Technology
  • Practical approach to ferment ation technology workshop
  • Comparative microbial genomics workshop
  • Animal Cell Culture and Applications

4. การพัฒนาบุคลากร

ในช่วงปีงบประมาณ 2543-2550 ของการดำเนินงาน หน่วยฯ ได้สนับสนุนการผลิตบัณฑิตศึกษาจำนวน 246 คนในระดับปริญญา เอก 12 คน ปริญญาโท 234 คน และมีนักศึกษาที่กำลังศึกษา อยู่จำนวน 58 คนในระดับปริญญาเอก 16 คน และระดับปริญญาโท 74 คน หน่วยฯ กำหนดเป้าหมายของสัดส่วน จำนวนนักศึกษาปริญญาโทและ ปริญญาเอกต่อบุคลากรปริญญาเอก (FTE) ไว้ที่ 4:1 และ 2:1 ตามลำดับ โดยในปัจจุบันมีสัดส่วนนักศึกษาปริญญาโทต่อบุคลากรปริญญาเอก (FTE) 4.1 และ 0.7 สำหรับนัก ศึกษาปริญญาเอก

5. สิทธิบัตร

หน่วยฯ มีเทคโนโลยีที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

  • DNA probes ที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ในกลุ่ม Methanogens ( ปี 2545)
  • การแยกลำดับเบสและกรดอะมิโนของยีน D 12 desaturase ของ Mucor rouxii ATCC24905 ( ปี 2542)
  • การพัฒนาลำดับนิวคลีโอไทด์และลำดับกรดอะมิโนของยีน D 6 desaturase ของ Mucor rouxii สายพันธุ์ ATCC24905 ( ปี 2543)
  • Nucleotide and amino acid sequences of D 6 -desaturase isoform II of Mucor rouxii ATCC 24905, Thai Patent Filed: January, 2004
  • Development of D 6 -desaturase isoform II enzyme of Mucor rouxii involved in synthesis of essential fatty acids, gamma-linolenic and stearidonic acids by site-directed mutagenesis, Thai Patent Filed: 28 September, 2005
  • การพัฒนากระบวนการสร้างกรดไขมันที่มีพันธะคู่สามพันธะในโมเลกุล , gamma-linolenic acid หรือ GLA และ alpha-linolenic acid หรือ ALA โดย การพัฒนาลำดับนิวคลีโอไทด์และลำดับกรดอะมิโนของยีนเดลต้า 6 -ดีแสททูเรส ( ? 6-desaturase) และยีนเดลต้า 12 -ดี แสททูเรส ( ? 12-desaturase) ของไซยาโน แบคทีเรียสไปรูลิน่า ( Spirulina platensis ) ในเซลล์ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae , Thai Patent Filed: October 2006

6. รางวัลที่ได้รับ

  • หน่วยปฏิบัติการฯ ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผลงานดีเด่นและ สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และเทคโนโลยีที่สามารถถ่ายทอด ให้ภาคเอกชนและใช้งานได้จริง
  • รางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2545 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ เรื่อง การพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียไร้อากาศ ประสิทธิภาพสูงแบบตรึงเซลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร <link to ECoWaste>
  • รางวัลดีเด่นด้านพลังงานใหม่และหมุนเวียนของประเทศไทยปี 2546 ประเภท Off-Grid ของกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จากผลงานเรื่อง การ ส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง และได้รับคัด เลือกเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด โครงการดีเด่นฯ ในระดับภูมิภาคอาเซียนประจำปี 2546 ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่นำความรู้เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียใน ห้องปฏิบัติการมาวิจัยและพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการ บำบัดน้ำเสียในสภาวะการใช้งานจริงของประเทศ โดยไม่เปลืองเนื้อที่และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า สามารถ บำบัดน้ำเสียทั้งชนิดที่มีความเข้มข้นสูงและต่ำได้เป็นอย่างดี สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร และยังได้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน <link to ECoWaste>

7. การเสนอผลงานและสิ่งตีพิมพ์

การเสนอผลงานในช่วงปีงบประมาณ 2536-2550 หน่วยฯ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ 76 เรื่อง วารสารระดับประเทศ 10 เรื่อง และมีการนำเสนอผลงาน ทางวิชาการทั้งสิ้น 520 เรื่อง โดยเป็นการเสนอผลงานในระดับนานาชาติ 201 เรื่อง และระดับชาติ 319 เรื่อง

วารสารทางวิชาการ

  1. Cohen, Z.; Ruengichatchawalya, M.; Siangdung, W.; Tanticharoen, M. “Production and partial purification of g - linolenic acid and some pigments from Spirulina platensis Journal of Applied Phycology 1993, 5:109-115
  2. Tanticharoen, M.; Bunnag, B.; Vonshak, A. “Cultivation of Spirulina using Secondary treated starch waste water” Journal of Australasian Biotechnology 1993, 3:223-226.
  3. Cohen, Z.; Ruengichatchawalya, M.; Siangdung, W.; Tanticharoen, M.; Heimer, Y. M. “Herbicide-resistant Lines of microalgae: growth and fatty acid composition” Journal of Phytochemistry 1993, 34 (4):973-978.
  4. Chanawongse, L.; Lee, Y.K.; Bunnag, B.; Tanticharoen, M. “Productivity of the cyanobacterium Spirulina platensis in cultures using sunlight” Journal of Bioresources Technology 1994, 48:143-148.
  5. Tanticharoen, M.; Ruengichatchawalya, M.; Bunnag, B.; Vonktaveesuk, P.; Vonshak, A. ; Cohen, Z. “Optimization of g - linolenic acid (GLA) production in Spirulina platensis Journal of Applied Phycology 1994, 6:295-300.
  6. Vonshak, A.; Chanawongse, L.; Bunnag, B.; Tanticharoen, M. “Physiological characterization of Spirulina platensis isolates: Response to light and salinity” Journal of Plant Physiology 1995, 14:161-166.
  7. Vonshak, A.; Kancharaksa, N.; Bunnag, B.; Tanticharoen, M. “Role of light and photosynthesis on the acclimation process of the cyanobacterium Spirulina platensis to salinity stress” Journal of Applied Phycology 1996, 8:119-124.
  8. Somasundrum, M.; Kirtikara, K.; Tanticharoen, M. “Amperometric determination of hydrogen peroxide by direct and catalytic reduction at a copper electrode” Journal of Analytica Chimica Acta 1996, 319:59-70.
  9. Vonshak, A.; Chanawongse, L.; Bunnag, B.; Ta nticharoen, M. “Light acclimation and photoinhibition in three Spirulina platensis (cyanobacteria ) isolates” Journal of Applied Phycology 1996, 8:35-40.
  10. Somasundrum, M.; Tanticharoen, M.; Kirtikara, K. “H 2 O 2 from an oxidase enzyme can be detected cathodically using metal-dispersed conducting polymer film” Journal of Electroanalytical Chemistry 1996, 407:247-251.
  11. Somasundrum, M.; Tongta, A.; Tanticharoen, M.; Kirtikara, K. “A kinetic model for the reduction of enzyme -generated H 2 0 2 at a metal-dispersed conducting polymer film” Journal of Electroanalytical Chemistry 1997 , 440:259-264.
  12. Kiattipoomchai, M.; Somasundrum, M.; Tanticharoen, M.; Kirtikara, K. “Measurement of sulfite at oxide-coated copper electrodes” Journal of Analytica Chimica Acta 1998 , 123:2017-2019.
  13. Nomsawai, P.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “Light regulation of phycobilisome structure and gene expression in Spirulina platensis C1 ( Arthrospira sp. PCC9438)” Journal of Plant Cell Physiol o gy 1999, 40(12):1194-1202.
  14. Surareungchai, W.; Worasing, S.; Sritongkum, P.; Tanticharoen, M. “Dual electrode signal-subtracted bio sensor for simultaneous flow injection determination of sucrose and glucose.” Journal of Analytica Chimica Acta 1999 , 380:7-15.
  15. Samarntarn, W.; Cheevadhanarak, S.; Tanticharoen, M. “Production of alkaline protesae by genetic ally engineered Aspergillus oryzae U1521. ” Journal of General Applied Microbiology and Biotechnology 1999, 45:99-103 .
  16. Arjsriwat, S.; Tanticharoen, M.; Kirtikara, K.; Aoki, K.; Somasundrum, M. “Metal – dispersed Conducting polymer – Coated Electrode used for Oxidase – based Bio sensor .” Journal of Electrochemistry Communication 2000, 2:441- 444.
  17. Laoteng, K.; Monnontara, R.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “Delta 6 desaturase of Mucor rouxii with high samilarity to Plant delta 6–desaturase and its Heterologous Expression in Saccharomyces cerevisiae .” Journal of Biochemical and Biophysical Research Communications 2000 , 279:17-22.
  18. Passorn, S.; Laoteng, K.; Rachadawong, S.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “Heterologous Expression of Mucor rouxii D 12 Gene in Saccharomyces cerevisiae .” Biochemical and Biophysical Research Communications 1999 , 263:47-51.
  19. Deshnium, P.; Paitoonrangsarid, K.; Suphatrakul, A.; Meesapyodsuk, D.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “Temperature-independent and dependent expression of desaturase genes in filamentous cyanobacterium Spirulina platensis C1 ( Arthrospira sp. PCC9438)” Journal of FEMS Microbiology Letter 2000, 184:207-213.
  20. Surareungchai, W.; Kasiwat, D. “Electroanalysis of tert-Butylhydroquinone in Edible Oil at a Nafion – Coated Probe.” Journal of Electroanalysis 2000, 12(14):1124-1129.
  21. Laoteng, K.; Anjard, C.; Rachadawong, S.; Tanticharoen, M.; Maresca, B. “ Mucor rouxii D 9 Desaturase Gene is Transcriptionally Regulated during Cell Growth and by Low Temperature.” Molecular Cell Biology Research Communications 1999 , 1:36-43.
  22. Jaturapat, A.; Isaka, M.; Hywel-Jones, NL.; Lertwerawat, Y.; Kamchonwongpaisan, S.; Kirtikara, K.; Tanticharoen, M.; Thebtaranonth, Y. “Biosanthracenes from the Insect Pathogenic Fungus Cordyceps pseudomilitaris BCC 1620. I. Taxonomy, Fermentation, Isolation and Antimalarial Activity.” Journal of Antibiotics 2001 , 54(1):29-35.
  23. Isaka, M.; Jaturapat, A.; Kladwang, W.; Panya, J.; Lertwerawat, Y.; Tanticharoen, M.; Thebtaranonth, Y. “Antiplasmodial compounds from wood-decayed fungus Xylaria sp. BCC 1067” Journal of Planta Medical 2000, 66:473-475.
  24. Meesapyodsuk, D.; Reed, D.W.; Cheevadhanarak, S.; Deshnium, P.; Covello, P.S. “Probing the mechanism of a cyanobacterial D 9 Fatty acid desaturase from Spirulina platensis C1 ( Arthrospira sp. PCC9438)” Journal of Comparative Biochemistry and Physiology Part B 2001, 129:831 -835.
  25. Thammarongtham, C.; Turner, G.; Moir, A.J.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “A new class of glutaminase from Aspergillus oryzae .” Journal of Molecular Microbiology and Biotechnology 2001, 3(4) (Oct):611-617.
  26. Surareungchai, W.; Deepunya, W.; Tassakorn, P. “Quadruple-pulsed amperometric detection for simultaneous flow injection determination of glucose and fructose” Journal of Analytica Chimica Acta 2001 , 448:215-220.
  27. Chaiprasert, P.; Bhumiratana, S.; Tanticharoen, M. “Mesophilic and Thermophilic Anaerobic Digestion of Pineapple Cannery Wastes” Thammasat International Journal of Science and Technology 2001 , 6 (2):1-9.
  28. Ruengitchatchawalya, M.; Chirasuwan, N.; Chaiklahan, R.; Bunnag, B.; Deshnium, P.; Tanticharoen, M. “Photosynthetic characteristics of a mutant of Spirulina plantensis Journal of Applied Phycology 2002 , 14:71-76.
  29. Posayapisit, N.; Pumputsa, K.; Mekvichitsaeng, P.; Techkarnjanaruk, S. “Phylo genetic analysis of Baculovirus chitinase sequence” Journal of Chitin Enzymology 2001, 343-350.
  30. Suriyawattanakul, L.; Surareungchai, W.; Sritongkum, P.; Tanticharoen, M.; Kirtikara, K. “The use of co-immobilization of Trichosporon cutaneum and Bacillus licheniformis for a BOD sensor ” Journal of Applied Microbiology and Biotechnology 2002, 59:40-44.
  31. Na Nakon P.; Suphantharika M.; Udomsopagit S.; and Surareungchai W. "Poly (vinylferrocene)-Polyethylene Glycol Glutamate Oxidase Electrode for Determination of Glutamate in Commercial Soy Sauces." Journal of Microbiology & Biotechnology 2003, 19, 479-485.
  32. Khunyoshyeng, S.; Cheevadhanarak, S.; Rachdawong, S.; Tanticharoen, M. “Differential expression of desaturases and changes in fatty acid composition during sporangiospore germination and development in Mucor rouxii .” Journal of Fungal Genetics and Biology 2003 , 37, 13-21.
  33. Laoteng, K.; Pongchuachidthai, R.; Rueksomtawin, K.; Dandusitapunth, Y.; Tanticharoen, M.; Cheevadhanarak, S. “A Mucor rouxii mutant with high accumulation of an unusual trans -linoleic acid (9c, 12 t -C18: 2)” Journal of FEMS Microbiology Letters 2003, 10993, 1-7.
  34. Suvajittanont, W.; Chaiprasert, P. “Potential of biogas recirculation to enhance biomass accumulation on supporting media” Journal of Bioresource Technology 2003 , 88(2) , 157-162.
  35. Chaiprasert, P., W. Suvajittanont, B. Surarak, M. Tantichroen, and S. Bhumiratana. “ Nylon fiber as supporting media in anaerobic hybrid reactors: its effects on system's performance and microbial distribution .” Journal of Water Research , 2003, 37, 4605-4612.
  36. Devahastin, S.; Suvarnakuta, P.; Soponronnarit, S.; Mujumdar, A.S. “A Comparative Study of Low-Pressure Superheated Steam and Vacuum Drying of a Heat-Sensitive Material,” Journal of Drying Technology – An International 2004, 22(8).
  37. Namsanguan, Y.; Tia, W., Devahastin, S.; Soponronnarit, S. “Drying Kinetics and Quality of Shrimp Undergoing Different Two -Stage Drying Processes,” Journal of Drying Technology – An International 2004, 22(4), pp. 759-778.
  38. Wiyarath, W.; Somasundrum, M. and Surareugchai, W. “A voltammetric sensor for general purpose organohalide at picogramper-litre concentrations based on a simple collector-generator method” Journal of Analytical Chemistry 2004, Vol.76, pp.859-862.
  39. Ngamchana, S.; Surareungchai, W. “Sub-millimolar determination of formalin by pulsed amperometric detection” Journal of Analytica Chimica Acta 2004, Vol. 510, pp.195-201.
  40. Hongsthong, A.; Subudhi, S.; Sirijuntarat, M. and Cheevadhanarak, S. “Mutation study of conserved amino acid residues of Spirulina r 6 - acyl-lipid desaturase showing involvement of histidine 313 in the regioselectivity of the enzyme” Journal of Applied Microbiology and Biotechnology 2004, 66:74-84
  41. Hongsthong, A.; Paithoonrangsarid, K.; Prapugrangkul, P.; Deshnium, P.; Sirijuntarut, M.; Subhudhi, S.; Cheevadhanarak, S. and Tantichroen, M. “The expression of three desaturase genes of Spirulina platensis in Escherichia coli DH5 alpha.” Journal of Molecular Biology Reports 2004, 31:177- 189
  42. Ruengjitchatchawalya, M.; Kov?cs, L.; Mapaisansup, T.; Sallai, A.; Gombos, Z.; Ponglikitmongkol, M. and Tanticharoen, M. “Higher plant-like fluorescence induction and thermoluminescence characteristics in cyanobacterium, Spirulina mutant defective in PQH 2 oxidation by cyt b 6 /f complex” Journal of Plant Physiology 2005, 162: 1123- 1132.
  43. Wiyaratn, W.; Somasundrum, M. and Surareungchai, W. “Votammetric detection of organohalides by redox catalysis: Improved sensitivity by immobilisation within a cubic phase liquid crystal” Journal of The Analyst, (2005), 130:626-631 and Also highlighted as a Hot Paper on The RSC website and highlighted in Chemical sciense 2005, 2:C41
  44. Wiyaratn, W.; Hrapovic, S.; Liu, Y.; Surareungchai, W.; Luong, J.H.T. “Light- assisted synthesis of Pt-Zn porphyrin nanocomposites and their use for electrochemical detection of organohalides” Analytical Chemistry 2005, 77:5742-5749.
  45. Rijiravanich, P.; Aoki, K.; Chen, J.; Surareungchai, W. and Somasundrum, M. “Electrode reactions of catechol at tyrosinase- immobilized latex suspensions” Journal of Electroanalysis 2004, 16:605-611.
  46. Loetanantawong, B. ; Suracheep, C. ; Somasundrum, M.; Surareungchai, W. “Electrocatalytic Tetracycline Oxidation at a Mixed-Valent Ruthenium Cyanide-Modified Glassy Carbon Electrode and Determination of Tetracyclines by Liquid Chromatography with Electrochemical Detection” Journal of Analytical Chemistry , 2004, 76: 2266-2272 .
  47. Laoteng, K.; Ruenwai, R.; Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. “Genetic modification of essential fatty acids biosynthesis in Hansenula polymorpha” Journal of Microbiology Letters 2005, 245:169-178.
  48. Na-Ranong, S.; Laoteng, K.; Kittakoop, P.; Tantichareon. M. and Cheevadhanarak, S. Subsrate specificity and preference of r 6 –deaturase of Mucor rouxii . Journal of FEBS Letters 2005, 579:2744-2748.
  49. Laoteng, K.; Cheevadhanarak, S.; Tanticharoen, M. and Maresca, B. “Promoter analysis of Mucor rouxii 9- desaturase: Its implication for transcriptional regulation in Saccharomyces cerevisiae Journal of Biochemical and Biophysical Research Communications 2005, 335 :400-405.
  50. Meechai, A.; Pongakarakun, S.; Deshnium, P.; Cheevadhanarak, S. and Bhumiratana, S. “Metabolic flux distribution for g - linolenic acid synthetic pathways in Spirulina platensis ”  Journal of Biotechnol. Bioprocess Eng 2004, 9(6):506-513.
  51. Jupraputtasri, W.; Cheevadhanarak, S.; Chaiprasert, P.; Tanticharoen, M. and Techkarnjanaruk , S.  “Use of Fluorochrome-Labeled rRNA Targeted Oligonucleotide Probe and Tyramide Signal Amplification to Improve Sensitivity of Fluorescence in situ Hybridization.  Journal of BioScience and Bioengineering 2004, 98(4):282-286.
  52. Jupraputtasri, W.; Cheevadhanarak, S.; Chaiprasert, P.; Tanticharoen, M. and Techkarnjanaruk, S. “Use of an Alternative Archaea -Specific probe for Methanogen Detection”  Journal of Microbiological Methods . 2005, 61:95 -104.
  53. Kurdrit, P.; Subudhi, S.; Hongsthong, A.; Ruengjitchatchawala, M. and Tanticharoen, M. “Functional expression of Spirulina - D 6 desaturase gene in yeast, Saccharomyces cerevisiae” Journal of Molecular Biology Reports 2005, 32: 215-226.
  54. Wachiraphansakul, S. and Devahastin, S. “Drying Kinetics and Quality of Soy Residue (Okara) Dried in a Jet Spouted Bed Dryer” Journal of Drying Technology, 2005, Vol. 23, No. 6, pp. 1229- 1242.
  55. Na-Ranong, S.; Laoteng, K.; Kittakoop, P.; Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. “Targeted mutagenesis of a fatty acid D 6 -desaturase from Mucor rouxii : Role of amino acid residues adjacent to histidine-rich motif II” Journal of Biochemical and Biophysical Research Communications 2005, 339:pp.1029- 1034.
  56. Jeennor, S.; Laoteng, K.; Tanticharoen, M. and Cheevadhanarak, S. “Comparative fatty acid profiling of Mucor rouxii under different stress conditions” Journal of FEMS Microbiol Lett 259 2006, pp.60-66.
  57. Kurdrit, P.; Subudhi, S.; Cheevadhanarak, S.; Tanticharoen, M. and Hongsthong, A . “Effect of two intermediate electron donors, NADPH and FADH 2 , on Spirulina delta 6 desaturase co-expressed with two different immediate electron donors, cytochrome b5 and ferredoxin, in Escherichia coli Journal of Molecular Biology, Oct 2006 published on-line.
  58. Hongsthong, A.; Subudhi, S.; Sirijuntarut, M.; Kurdrid, P.; Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. “Revealing the complementation of ferredoxin by cytochrome b 5 in the Spirulina - D 6 -desaturation reaction by N-terminal fusion and coexpression of the fungal-cytochrome b 5 domain and Spirulina - D 6 -acyl-lipid desaturase” Journal of Applied Microbiology and Biotechnology . 2006,72 (6), 1192-1201.
  59. Hongsthong, A.; Sirijuntarut, M.; Thammathorn, S.; Prommenate, P.; Bunnag, B.; Cheevadhanarak, S. and Tanticharoen, M. “Revealing differentially expressed proteins in two morphological forms of Spirulina platensis by proteomic analysis ” Journal of Molecular Biotechnology . 2007, 36(2), 123-130.
  60. Rijiravanich, P.; Aoki, K.; Chen, J.; Surareungchai, W. and Somasundrum, M. “Micro-cylinder bio sensor for phenol and catechol based on layer-by-layer immobilization of tyrosinase on latex particles: Theory and experiment" Journal of Electroanalytical Chemistry 589 (2006) 249-258.
  61. Punbusayakul, N.; Ci, L.; Talapatra, S.; Surareungchai, S. and Ajayan, P.M. “Double-Walled Carbon Nanotube Electrodes for Electrochemical sensing” Journal of Electrochemcial and Solid-State Letter, 2007, 10(5) F13-F17.
  62. Chiewchan, N.; Pakdee, W.; and Devahastin, S. “ Effects of Water Activity and Hot Air Drying on Thermal Resistivity of Salmonella krefeld on Rawhide Surface Journal of Food Microbiology , 2007, Vol. 114, No. 1, pp. 43-49. (February 28)
  63. Pimpaporn, P.; Devahastin, S.; and Chiewchan, N. “ Effects of Combined Pretreatments on Drying Kinetics and Quality of Potato Chips Undergoing Low-Pressure Superheated Steam Drying ” Journal of Food Engineering , 2007, Vol. 81, No. 2, July, pp. 318-329
  64. Nimmol, C.; Devahastin, S.; Swasdisevi, T. and Soponronnarit, S. “ Drying of Banana Slices Using Combined Low-Pressure Superheated Steam and Far-Infrared Radiation Journal of Food Engineering , 2007, Vol. 81, No. 3, August, pp. 624-633.
  65. Kerdpiboon, S. and Devahastin, S. “Fractal Characterization of Some Physical Properties of a Food Product under Various Drying Conditions” Journal of Drying Technology , 2007, Vol. 25, No. 1, pp. 135-146.
  66. Thomkapanich, O.; Suvarnakuta, P. and Devahastin, S. “Study of Intermittent Low-Pressure Superheated Steam and Vacuum Drying of a Heat-Sensitive Material” Journal of Drying Technology , 2007, Vol. 25, No. 1, pp. 205-223.
  67. Wachiraphansakul, S. and Devahastin, S., 2007, Drying Kinetics and Quality of Okara Dried in a Jet Spouted Bed of Sorbent Particles , Journal of LWT - Food Science and Technology , Vol. 40, No. 2, March, pp. 207-219.
  68. Panyawong, S. and Devahastin, S. “ Determination of Deformation of a Food Product Undergoing Different Drying Methods and Conditions via Evolution of a Shape Factor Journal of Food Engineering , 2007, Vol. 78, No. 1, January, pp. 151-161.
  69. Kerdpiboon, S.; Kerr, W.L.; Devahastin, S. “ Neural Network Prediction of Physical Property Changes of Dried Carrot as a Function of Fractal Dimension and Moisture Content Journal of Food Research International , 2006, Vol. 39, No. 10, December, pp. 1110-1118.
  70. Kongsoontornkijkul, P.; Ekwongsupasarn, P.; Chiewchan, N. and Devahastin, S. "Effects of Drying Methods and Tea Preparation Temperature on the Amount of Vitamin C in Indian Gooseberry Tea” Journal of Drying Technology , 2006, Vol. 24, No. 11, pp. 1509-1513.
  71. •  Leeratanarak, N.; Devahastin, S. and Chiewchan, N. “ Drying Kinetics and Quality of Potato Chips Undergoing Different Drying Techniques Journal of Food Engineering , 2006, Vol. 77, No. 3, December, pp. 635-643.
  72. Srisamran, C. and Devahastin, S. “ Numerical Simulation of Flow and Mixing Behavior of Impinging Streams of Shear- Thinning Fluids Journal of Chemical Engineering Science , 2006, Vol. 61, No. 15, August, pp. 4884-4892.
  73. Devahastin, S.; Tapaneyasin, R.; and Tansakul, A. “ Hydrodynamic Behavior of a Jet Spouted Bed of Shrimp Journal of Food Engineering, 2006, Vol. 74, No. 3, June, pp. 345-351.
  74. Devahastin, S. and Pitaksuriyarat, S. “ Use of Latent Heat Storage to Conserve Energy during Drying and Its Effect on Drying Kinetics of a Food Product Journal of Applied Thermal Engineering , 2006,Vol. 26, No. 14-15, October, pp. 1705-1713.
  75. Laoteng, K.; Jitsue, S.; Dandusitapunth, Y. and Cheevadhanarak, S. “Ethanol- induced changes in expression profiles of cell growth, fatty acid and desaturase genes of Mucor rouxii Journal of Fungal Genet Biol, Aprial 2007 published on-line.
  76. Nookaew, I. ; Meechai, A.; Thammarongtham, C.; Laoteng, K.; Ruanglek, V.; Cheevadhanarak, S.; Nielsen, J. and Bhumiratana, S. “Identification of Flux Regulation Coefficients from Elementary Flux Modes: A new tool in systems biology for analysis of metabolic networks” Journal of Biotechnology and Bioengineering . 2007, 97(6), 1535-1549.

ดัชนีชี้วัดการดำเนินงาน (Key Performance Index, KPI)

หน่วยฯ ได้มีการนำ KPI มาใช้เพื่อประเมินการดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลิตภาพ และการเติบโต ของหน่วยงาน ตัวอย่างข้อมูลที่นำมา ใช้ในการแสดงประสิทธิผลของงานวิจัยและพัฒนา ได้แก่ รายรับจากโครงการวิจัย งานรับจ้างวิจัย จำนวนสิ่งตีพิมพ์ ซึ่งนำมาพิจารณา แสดงประสิทธิภาพเป็นสัดส่วนต่างๆ ได้แก่ รายรับจากโครงการวิจัยต่อบุคลากรปริญญาเอก (FTE) จำนวนสิ่งตีพิมพ์ต่อบุคลากรปริญญาเอก (FTE) เป็นต้น และการประเมิน ผลิตภาพ/การเติบโต จากสัดส่วนของรายรับต่อ เงินเดือน จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกต่อจำนวนบุคลากรปริญญาเอก (FTE)

รายชื่อคณะอนุกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมี
และโรงงานต้นแบบ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545

•  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
แห่งชาติ

เป็น

ประธาน
อนุกรรมการ

•  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือผู้แทน

เป็น

อนุกรรมการ

•  รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ-
โยธี ศช.

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและ ฝึกอบรมโรงงาน
ต้นแบบ มจธ.

เป็น

อนุกรรมการ

•  คณบดีคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ.

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายธีระพล พฤกษาทร

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายปิยะวัติ บุญ-หลง

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายศักรินทร์ ภูมิรัตน

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายเสรี เด่นวรลักษณ์

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายอมเรศ ภูมิรัตน

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ศช.

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรม
ชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ

เป็น

อนุกรรมการ
และเลขานุการ

รายชื่อคณะอนุกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมี
และโรงงานต้นแบบ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - 2548

•  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ
แห่งชาติ

เป็น

ที่ปรึกษา

•  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือผู้แทน

เป็น

ที่ปรึกษา

•  นายศักรินทร์ ภูมิรัตน

เป็น

ที่ปรึกษา

•  รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (นายรุจ วัลยะเสวี)

เป็น

ประธาน
อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและ
ฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ.

เป็น

อนุกรรมการ

•  คณบดีคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ.

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายธีระพล พฤกษาทร

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายนักสิทธ์ คูวัฒนาชัย

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายสุพจน์ เมธิยะพันธ์

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรม
ชีวเคมีีีและโรงงานต้นแบบ

เป็น

อนุกรรมการ
และเลขานุการ

รายชื่อคณะอนุกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมี
และโรงงานต้นแบบ ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2551

•  ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพ แห่งชาติ

เป็น

ที่ปรึกษา

•  อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือผู้แทน

เป็น

ที่ปรึกษา

•  นายศักรินทร์ ภูมิรัตน

เป็น

ที่ปรึกษา

•  นายกฤษณพงศ์ กีรติกร

เป็น

ที่ปรึกษา

•  รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพ
แห่งชาติ (นายรุจ วัลยะเสวี)

เป็น

ประธาน
อนุกรรมการ

•  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือผู้แทน

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายประพนธ์ วิไลรัตน์

เป็น

อนุกรรมการ

•  น.สพ.รุจเวทย์ ทหารแกล้ว

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายนักสิทธ์ คูวัฒนาชัย

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายพิเชฐ อิฐกอ

เป็น

อนุกรรมการ

•  นายสมชาย เชื้อวัชรินทร์

เป็น

อนุกรรมการ

•  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย และพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมี และโรงงานต้นแบบ

เป็น

อนุกรรมการ
และเลขานุการ

สถานที่ติดต่อ

หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ( บางขุนเทียน )
83 หมู่ 8 ถนนบางขุนเทียนชายทะเล
แขวงท่าข้าม
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 0 - 2 470-7545, 0-2470-7469
โทรสาร 0 - 2 452-3455

Website: http://www.biotec.or.th/bec/index.html