|
Wednesday, 30 April 2025
|
|
|
 |
Home Research and Development Excellent Center of Waste Utilization and Management |
Excellent Center of Waste Utilization and Management |
|
|
|
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ
และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
Excellent Center of Waste utilization
and management; ECoWaste
ความเป็นมาของศูนย์ฯ
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร หรือ Excellent Center of Waste Utilization and Management เรียกสั้นๆ ว่า ECoWaste เป็นหน่วยงาน ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มีประสบการณ์ในการศึกษา วิจัยด้านการบำบัดและจัดการของเสียมากว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของอาจารย์ นักวิจัยและวิศวกร ที่สนใจด้านการบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยเน้นที่การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมเกษตร เช่น น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าว น้ำมันปาล์ม อาหารและผลไม้กระป๋อง โดยใช้เทคโนโลยีแบบไม่ใช้อากาศ ( Anaerobic Technology) ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงานได้ด้วยกระบวนการเดียวกัน งานวิจัยของกลุ่มทำงานนี้ได้เริ่มงานทางด้านก๊าซชีวภาพเมื่อปี พ.ศ. 2523 ภายใต้โครงการการใช้ประโยชน์จากของเสียโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ASEAN Economic Cooperation Programme (AAECP) ในความร่วมมือของ ASEAN Working Group on Food Waste Materials โดยการริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ และศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่เป็นผู้บุกเบิก และผลักดันก่อให้เกิดกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพขึ้นในสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะพลังงานและวัสดุ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีในปี พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี – บางมด
ต่อมาในปี 2539 กลุ่มวิจัยนี้มีการขยายงานวิจัยและพัฒนามากขึ้นและในหลายแขนง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสีย ( Waste Utilization and Management) และได้ย้ายมาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี-บางขุนเทียนเมื่อปี พ.ศ. 2543 และยังคงอยู่ภายใต้การกำกับและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มจธ. และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ ณ มหาวิทยาลัยเครือข่าย มจธ. ของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2 549 ได้ยกระดับขึ้นเป็นศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นศูนย์ความร่วมมือระหว่าง มจธ. และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
จากการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ทำให้งานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งเดิม เป็นเพียงลักษณะการผลิตก๊าซชีวภาพโดยขาดความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ผ่านทำงานอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน มีส่วนช่วยทำให้ประเทศไทยมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับแนวหน้า และมีเทคโนโลยีในระดับอุตสาหกรรมโดดเด่นในภูมิภาคนี้ของเอเชีย มีการใช้ประโยชน์จากการบำบัดน้ำเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
เป้าหมายสูงสุด
พัฒนาเทคโนโลยีและบุคคลากรสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการ การบำบัดและใช้ประโยชน์จากน้ำเสียตลอดจนของเสีย ทั้งงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้จริงในระดับอุตสาหกรรม
วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน
เพื่อดำเนินงานด้านการค้นคว้า ศึกษา วิจัยและพัฒนากระบวนการบำบัดของเสีย หรือวัสดุเหลือทั้งจากเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยวิธีทางชีวภาพ โดยเฉพาะกระบวนการบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ การจัดการ การตรวจประเมินการใช้น้ำ พลังงาน และวัตถุดิบในกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยีสะอาด ตลอดจนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้จริงในระดับอุตสาหกรรม โดยการให้การบริการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกระบวนการและองค์ความรู้ในการบำบัดและจัดการของเสียที่เหมาะสมต่อเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ของคนไทย อันจะเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเกิดความยั่งยืนในการพัฒนาสืบไป
การแบ่งกลุ่มงานวิจัย (Key Research Areas)
งานวิจัยและพัฒนาในกลุ่มนี้เน้น 4 แนวทางหลัก คือ
1. กลุ่มงานวิจัยด้านจุลินทรีย์ศึกษา (Microbio-
logical and Biochemical Aspect) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้าน จุลินทรีย์และชีวเคมีเกี่ยวกับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศ พัฒนาเทคนิคการตรวจและนับจำนวน จุลินทรีย์ ตลอดจนติดตามการเปลี่ยนแปลง ชนิด จำนวนและบทบาทความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ
2. กลุ่มงานวิจัยด้านถังปฏิกรณ์พัฒนา ( Reactor and process development) ดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาถังปฏิกรณ์ชนิดต่างๆที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะชนิดตรึงฟิล์ม ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ศึกษาและพัฒนากรรมวิธีในการเริ่มต้นระบบ ( Start up) และดูแลระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไม่ใช้อากาศ เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมที่สุด ทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียชนิดต่างๆ ในถังปฏิกรณ์ ศึกษาและพัฒนาถังปฏิกรณ์กำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ รูปแบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ รวมทั้งขยายผลการวิจัยที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพื่อนำไปใช้จริงในระดับอุตสาหกรรม
3. กลุ่มงานวิจัยด้านระบบควบคุมและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ( Computer aids and process optimization) ดำเนินงานเกี่ยวกับการ พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถทำนายสภาวะในระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และพัฒนารูปแบบการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียชนิด On-line Measurement
4. กลุ่มงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ (Environmental research and management) ศึกษาถึงความเป็นได้ และความเหมาะสมของการนำเทคโนโลยีที่ได้จากห้อง ปฏิบัติการไปสร้างและใช้งานจริงในระดับอุตสาหกรรม ศึกษาและประเมินผลกระทบของการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียทั้งในแง่สภาวะแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ศึกษาและวิจัยการใช้เทคโนโลยีสะอาดและการลดปริมาณของเสียรวมทั้งการติดตามและตรวจประเมินโรงงานอุตสาหกรรม ระบบบำบัดน้ำเสียแบบต่างๆ ทั้งในแง่การใช้ทรัพยากร การก่อมลพิษและการกำจัดมลพิษ เพื่อนำปัญหาที่ได้มาหาทางแก้ไขในห้องปฏิบัติการของศูนย์ฯ ต่อไป
งานบริการและให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
การที่ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร จัดตั้งส่วนงานบริการขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ
-
ส่งเสริมการใช้องค์ความรู้ในการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียโดยเน้นอุตสาหกรรมเกษตร ด้วยเทคโนโลยีการบำบัดทางชีวภาพแบบไม่ใช้อากาศ เพื่อให้ได้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ
-
บริการ และให้คำปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ของเสีย ตลอดเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
-
รับทดสอบและศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจ
-
เป็นหน่วยงานประสานงาน และจัดฝึกอบรม เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญสู่การใช้งานจริง และนำปัญหาที่ได้จากโรงงานกลับเข้ามาศึกษาหาคำตอบต่อไป
ขอบเขตงาน
ออกแบบ/ก่อสร้าง
-
ให้คำปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
-
รับประเมินและศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
-
ให้คำปรึกษา ออกแบบ และก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย
-
ให้คำปรึกษาด้านการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ
การให้คำปรึกษา
-
ให้คำปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
-
รับดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย
-
ตรวจประเมินและแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียที่ล้มเหลว
-
ให้คำปรึกษาในการเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำเสีย ( Startup)
-
ให้คำปรึกษาในการดำเนินการลดการใช้สารเคมีในระบบบำบัดน้ำเสีย
ทดสอบและประเมินผล
-
ทดสอบและประเมินความสามารถในการผลิตก๊าซชีวภาพจากวัสดุ ของเสียต่างๆ
-
ทดสอบความเป็นพิษของสารต่างๆต่อกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ
-
ทดสอบการย่อยสลายของเสียที่สภาวะต่างๆ ในระดับห้องปฏิบัติการ
-
รับตรวจประเมินประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสีย
-
ตรวจประเมินการใช้ทรัพยากร และการผลิตของเสียของระบบต่างๆ
-
แก้ไข ลดการก่อให้เกิดของเสียในขั้นตอนต่างของกระบวนกรผลิต
-
เป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณของเสีย
-
เป็นที่ปรึกษาในการจัดการของเสีย และการใช้ประโยชน์ของเสีย
อบรม/สัมมนา
-
รับจัดฝึกอบรม สัมมนา การใช้ประโยชน์จากของเสียประเภทต่างๆ
-
จัดอบรม ด้านเทคนิคการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ
-
อบรมสัมมนาเทคนิคทางด้านเชื้อของระบบบำบัดแบบไร้อากาศ
ตัวอย่างผลงานวิชาการมีผ่านมา ( Selected Publications)
กลุ่ม Microbiological and Biochemical Aspects
-
Suraraksa, B., Nopharatana, A., Chaiprasert, P., Tanticharoen, M. and Bhumiratana, S. (2003) “ Microbial activity of biofilm during start-up period of anaerobic hybrid reactor at low and high upflow feeding velocity ”, Water Science and Technology, 48(8): 79-87.
-
Pantamas, P., Chaiprasert, P. and Tanticharoen, M. (2003) “ Anaerobic Digestion of Glucose by Bacillus Licheniformis and Bacillus coagulans at Low and High Alkalinity ,” Asian Journal of Energy and Environment, 4(1-2): 1-17.
-
Jupraputtasri, W., Cheevadhanarak S., Chaiprasert , P., Tanticharoen, M. and, Techkarnjanaruk, S. (2002) “ Improved Sensitivity of Fluorescent Insitu Hybridization by the Combination of Fluorochrome-Labeled rRNA Targeted Oligonucleotide Probe and Tyramide Signal Amplification ,” Environmental Biotechnology, 2002: Biotechnology Applications for Treatment and Utilisation of Industrial Wastes, 15-17 April, 2002, Massey University , New Zealand .
-
Panichnumsin, P., P. Chaiprasert, M. Tanticharoen, and S. Bhumiratana (2000) “ Interaction of Organic Acids in Methane Production: Lactic Acid Degradation ,” Biotechnology: Impacts & Trends, The 12 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology, 1-3 November 2000, Thailand .
-
Wangnai, C., P. Chaiprasert, M. Tanticharoen, and S. Bhumiratana (1997) “ Tapioca Starch Wastewater Treatment by Anaerobic Hybrid Reactor ,” NRCT-JSPS Meeting on Biological Pollution Control and Remediation of Enclosed water Bodies, May 7, 1997 , Phuket Arcardia Hotel and Resort, Karon Beach , Phuket , Thailand .
กลุ่ม Reactor and Process Development
-
Chaiprasert , P., Suvajittanont, W., Suraraksa, B., Tanticharoen, M., and Bhumiratana, S. (2003) “ Nylon Fiber as Supporting Media in Anaerobic Hybrid Reactors: Its Effects on System's Performance and Microbial Distribution ,” Water Research, 37: 4605-4612.
-
Suvajittanont, W. and Chaiprasert , P. (2003) “ Potential of Biogas Recirculation to Enhance Biomass Accumulation on Supporting Media ,” Bioresource Technology, 88 (2003), 157-162.
-
Chaiprasert, P., S. Bhumiratana and M. Tanticharoen (2001) “ Mesophilic and Thermophilic Anaerobic Digestion of Pineapple Cannery Wastes ,” Thammasat International Journal of Science and Technology, Vol. 6 (2): p. 1-9.
-
Tran, T.T., Nopharatana, A. and Chaiprasert, P. (2003) “ Performance of Anaerobic Hybrid and Mixing Reactors in Treating Domestic Wastewater ,” Asian Journal of Energy and Environment, 4(1-2): 19-39.
-
Suraraksa, B., Nopharatana, A., Chaiprasert, P., Tanticharoen, M. and Bhumiratana, S. (2003) “ Effect of Substrate Feeding Concentration on Initial Biofilm Development in Anaerobic Hybrid Reactor ,” ASEAN Journal on Science and Technology for Development, 20(3-4): 361-372.
กลุ่ม Computer Aids and Process Optimization
-
Montatipaya, C., Noppharatana, A., and Chaiprasert, P. (2003) “ Model Development for Controlling of Anaerobic Hybrid Reactor ,” BioThailand 2003: Technology for Life, 17-20 July, PEACH, Pattaya , Thailand .
-
Waewsak, C., Chaiprasert, P., Noppharatana, A. (2003) “ Development of Neural Network Modeling for Anaerobic Hybrid System ,” BioThailand 2003: Technology for Life, 17-20 July, PEACH, Pattaya , Thailand .
-
Romsaiyud, A., Nopharatana, A., Chaiprasert , P., Tanticharoen, M., and Bhumiratana, S. (2002) “ Effect of Substrate Concentration, pH and Product Concentration on Anaerobic Digestion Rate of Glucose by Bacillus Macerans ,” The 14 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology: Biotechnology for the Better Living in the New Economy, November 12-15, 2002, Hotel Sofitel Raja Orchid, Khon Kaen, Thailand.
-
Udomnilobol, T., A. Nopharatana, P. Chaiprasert , M. Tanticharoen, and S. Bhumiratana (2000) “ Attachment Rate of Anaerobic Biofilm ,” Biotechnology: Impacts & Trends, The 12 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology, 1-3 November 2000, Thailand .
-
Kammafoo, P., A. Nopharatana, P. Chaiprasert, M. Tanticharoen, and S. Bhumiratana (2000) “ Interaction of Organic Acids in Anaerobic Degradation: Kinetic Model ,” Biotechnology: Impacts & Trends, The 12 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology, 1-3 November 2000, Thailand
กลุ่ม Environmental Research and Management
-
Nopharatana, A., M. Tanticharoen, S. Bhumiratana, and P. Chaiprasert (1999) " Recent Development of Anaerobic Digestion In Thailand Agro-Industry ," New Era of Biochemical Engineering and Biotechnology (APBioChEC'99), The 5 th Asia-Pacific Biochemical Engineering Conference 1999 and The 11 th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology, 15-18 November, 1999, Thailand .
-
Yuttitham, M., Tripetchkul, S., Gale, G. A., Chaiprasert , P., Tanticharoen, M., and Silapathong, C. (2003) “ Site Suitability Assessment for a Central Anaerobic Treatment Facility for Biogas Production in Nakhonpathom Province Thailand ,” Proceedings of the 2 nd Regional Conference on Energy Technology Towards a Clean Environment, 12-14 February 2003, Novotel Hotel, Phuket, Thailand.
-
Phase I Audit Report Tapioca Flour Industry , Thailand (1997), Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III, December 1997.
-
Phase I Audit Report Distillery Industry , Thailand (1997), Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III, December 1997.
-
Phase II Audit Report Tapioca Flour Industry , Thailand (1999), Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III, March 1999.
-
Cleaner Production in Thailand Tapioca Starch Industry (2001), Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III
-
Best Practice Environmental Management Guidelines for the Tapioca Processing Industry , Wastewater Treatment Technology Transfer and Cleaner Production Demonstration Project under ASEAN-Australia Economic Cooperation Program (AAECP) Phase III
งานวิจัยที่ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ . 2549-2551
-
โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อเป็นพลังงานทดแทนในโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
-
การส่งเสริมการเกิดฟิล์มชีวในช่วงเริ่มต้นระบบบำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบลูกผสม
-
การบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของเกลือ NaCl สูง โดยใช้ถังปฏิกรณ์บำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบลูกผสม
-
Toxicity of sodium chloride on trophic microbial groups in anaerobic digestion
-
Anaerobic co-digestion of organic industrial waste with pig manure in leach-bed reactor
-
การศึกษา Interaction ของกลุ่มจุลินทรีย์ที่คัดเลือกเพื่อเร่งกระบวนการผลิตมีเทน (ระยะที่ 2) Interaction of related anaerobic microorganism for enhancement of methane production
-
การขยายขนาดของถังปฏิกรณ์สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ทฤษฎีการคำนวณพลศาสตร์ของไหล Computational fluid dynamic (CFD) model
-
การประยุกต์ใช้ถังปฏิกรณ์ไม่ใช้อากาศแบบลูกผสมสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพ และบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม
-
รูปแบบการเริ่มต้นระบบที่เหมาะสมต่อกลุ่มจุลินทรีย์ในฟิล์มชีว เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของถังปฏิกรณ์ไร้อากาศแบบลูกผสม
-
แนวทางการลดการสูญเสียแป้งมันสำปะหลังด้วยโพสไซโคลน
-
การพัฒนาไฮโดรไซโคลนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแยกแป้งสำหรับหน่วยแยกแป้งมันสำปะหลัง
-
โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยผลิต และลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน: โรงงานแป้งมันสำปะหลังนำร่อง
-
การศึกษาศักยภาพชีวมวลสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย
-
การศึกษาศักยภาพเทคโนโลยีสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวลในประเทศไทย
บุคคลากร
คณะที่ปรึกษา
-
ศาสตราจารย์ ดร. มรกต ตันติเจริญ
-
ศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน์
-
รองศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ เตีย
-
รองศาสตราจารย์ ดร. โสฬส สุวรรณยืน
-
รองศาสตราจารย์ บุษยา บุนนาค
-
รองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิณี ชัยประเสริฐ
ผู้อำนวยการศูนย์ฯ
คณะทำงาน
*บุคคลากรภายใต้ความร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ที่อยู่ติดต่อ
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วิทยาเขตบางขุนเทียน
เลขที่ 83 หมู่ 8 แขวงท่าข้าม
เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
โทรศัพท์ 02-470-7469, 02-470-7526,
02-470-7519
โทรสาร 02-452-3455
|
|
|