Latest News
Sunday, 22 December 2024 |
หน้าหลัก
งานวิจัยที่แนะนำ

 ecow1.jpg

Excellent Center of Waste Utilization
and Management 
 
ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการ และใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร (Excellent Center of Waste Utilization and Management) หรือเรียกสั้นๆว่า ECoWaste เป็นหน่วยงานภายใต้ความร่วมมือของสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และคณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) มีประสบการณ์ในการศึกษา วิจัยด้านการบำบัดและจัดการของเสียมากว่า 20 ปี โดยเริ่มจากการรวมกลุ่มของอาจารย์ นักวิจัยและวิศวกร ที่สนใจด้านการบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยเน้นที่การบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น น้ำเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าว น้ำมันปาล์ม อาหารและผลไม้กระป๋อง โดยใช้เทคโนโลยีแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Technology) ที่สามารถบำบัดน้ำเสีย และผลิตพลังงานได้ด้วยกระบวนการเดียวกัน (อ่านต่อ)


fungal1.jpg 

Fungal Biotechnology Laboratory
ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพด้านรา ได้มุ่งเน้นศึกษาการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในกลุ่มยีสต์และราที่มีศักยภาพในการผลิต สาร metabolites ที่มีมูลค่าสูงที่เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive compound) ได้แก่ สารในกลุ่ม polyketides non-ribosomal peptides และกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 และ 6 โดยอาศัยศาสตร์ทางด้านชีววิทยาระบบ (Systems Biology) ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆทั้งในแง่งานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านเทคโนโลยีชีวภาพและตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (อ่านต่อ)

 
redm1.jpg
Remediation Laboratory
ห้องปฏิบัติการ Remediation ได้ดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับตัวดูดซับจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด แกลบ เถ้าลอยชานอ้อย เปลือกแมคคาดาเมีย ขุยมะพร้าว เป็นต้น เพื่อนำมาบำบัดน้ำเสียที่ปนเปื้อนโลหะหนักและสารอินทรีย์ โดยศึกษาถึงกลไกของวัสดุดูดซับต่างๆในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับ และทราบวิธีการจัดการตัวดูดซับที่ใช้แล้วต่อไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม วิธีนี้มีราคาไม่แพง สะดวกในการนำไปใช้จริง เพื่อได้น้ำทิ้งที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานน้ำทิ้ง  (อ่านต่อ)
 sensor.gif Sensors Technology
ปัจจุบันมีเครื่องมือและวิธีการหลากหลายชนิด สำหรับการวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณสารเคมิคัลเซนเซอร์ และไบโอเซนเซอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้กับงานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี หลักการสำคัญของเคมิคัลเซนเซอร์และไบโอเซนเซอร์คือการทำปฏิกิริยาอย่างว่องไวและจำเพาะระหว่างสารเคมี / สารทางชีวภาพที่ผิวหน้าของอิเล็กโทรดหรือทรานส์ดิวเซอร์ กับสารที่ต้องการวิเคราะห์ ก่อให้เกิดสัญญาณ และการเปลี่ยนแปลงที่ตรวจวัดได้ เช่น กระแสไฟฟ้า อิออน ความร้อน หรือมวล โดยขนาดของสัญญาณมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารตัวอย่าง (อ่านต่อ)


 algal3.jpg

Algal Biotechnology
สาหร่ายสไปรูลิน่า (Spirulina) เป็นแหล่งโปรตีนและมีสารเคมีมูลค่าสูง จำพวกกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดลิโนลิอิก และกรดแกมมาลิโนเลนิก (GLA) รวมทั้งมีสารให้สีที่เป็นรงควัตถุในการรับแสง พวก คลอโรฟิลล์ที่ให้สีเขียว ไฟโคไซยานินให้สีฟ้า และแคโรทีนอยด์ที่ให้สีส้มแดง ซึ่งสามารถสกัดสารสีเหล่านี้จากสาหร่าย สไปรูลิน่าได้ และมีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องสำอาง (อ่านต่อ)

 
สงวนลิขสิทธิ์ 2550-2562 สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางขุนเทียน) : 49 ซอยเทียนทะเล 25 ถนน บางขุนเทียนชาย-ทะเล แขวง ท่าข้าม เขต บางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร.66-2-4707453, โทรสาร.66-2-4523455

Copyrights 2007-2019 Pilot Plant Development and Training Institute
King Mongkut's University of Technology Thonburi (Bangkuntien) : 49 Soi Thian Thale 25, Bang Khun Thian Chai Thale Road, Tha Kham, Bang Khun Thian, Bangkok 10150
Tel. 66-2-4707453 Fax. 66-2-4523455